ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
คำรอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Ellipanthus tomentosus Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ellipanthus cinereus Pierre, Ellipanthus subrufus Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ถอบแถบ (CONNARACEAE)
สมุนไพรคำรอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมาตายทากลาก หำฟาน (เชียงใหม่), อุ่นขี้ไก่ (ลำปาง), ตานนกกดน้อย ประดงเลือด (สุโขทัย), กะโรงแดง คำรอก ช้างน้าว จันนกกด จับนกกรด (นครราชสีมา), ตานนกกดน้อย (สุรินทร์), กะโรงแดง คำรอก จันนกกด ช้างน้าว (ราชบุรี), กะโรงแดง หมาตายทากลาก (ภาคตะวันออก), ตานนกกรดตัวเมีย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ตานกกด เป็นต้น
สรรพคุณของคำรอก
1.รากคำรอกใช้ผสมกับรากตาไก้ และรากตากวง นำมาต้มกินเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต (ราก)
2.ตำรายาไทยจะใช้เนื้อไม้ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
3.กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร (กิ่งก้านและลำต้น)
4.เนื้อไม้มีรสฝาดขมมัน ใช้เป็นยาแก้กระษัย เป็นยาถ่ายพิษเสมหะและโลหิต (เนื้อไม้)
5.กิ่งก้านและต้นใช้ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้นพลองเหมือด ต้นสบู่ขาว แก่นพลับพลา และแก่นจำปา นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (กิ่งก้านและต้น)
6.กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยป้องกันอาการท้องอืด (กิ่งก้านและลำต้น)
7.เนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง (เนื้อไม้)
8.กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้องเกร็ง หรือรักษาอาการบีบเกร็งของช่องท้อง (กิ่งก้านและลำต้น)
9.ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้เนื้อไม้คำรอกเข้ายากับตาไก้และขันทองพยาบาท นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องผูก (เนื้อไม้)
10.เปลือกต้นและแก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้นและแก่น)
อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81/