กล้วยนวล

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


กล้วยนวล ชื่อวิทยาศาสตร์ Ensete glaucum (Roxb.) Cheesman[2],[5] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Musa glauca Roxb.)[1],[3] จัดอยู่ในวงศ์กล้วย (MUSACEAE)[1],[2]

สมุนไพรกล้วยนวล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กล้วยศาสนา (เชียงใหม่), กล้วยโทน (น่าน), กล้วยหัวโต (กรุงเทพฯ), กล้วยญวน, แอพแพละ, นอมจื่อต๋าง (เมี่ยน) เป็นต้น[1],[2],[5],[6]

ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ลำต้นเป็นเหง้าไม่แตกหน่อ ลำต้นเทียมสูง 5-6 เมตร โคนป้อมใหญ่ เส้นผ่านศูณย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 54 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียว มีนวลหนา
 
 ใบก้านใบมีสีเขียว มีร่องเปิด เส้นกลางใบสีเขียว ใบประดับคล้ายกล้วยผา แต่มีสีเขียวลักษณะของใบประดับ ค่อนข้างป้อม สีด้านบนเขียวอมเหลือง สีด้านล่างเขียวอมเหลือง ปลายใบประดับป้าน ไม่ม้วน การเรียงของใบประดับ เรีงสลับกับดอกและชิดติดกันมาก
 
 ดอกก้านช่อดอก ขนาดใหญ่ โค้งลง
 
 ผลขนาดผล ใหญ่คล้ายกล้วยผา รูปร่างผล ป้อม ปลายแหลม มีเมล็ดมาก เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวเรียบ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร สีดำ
 
 สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์- ปลี รับประทานได้โดยนำไปแกง(เมี่ยน)
- กาบกล้วย ใช้เป็นอาหารหมู(เมี่ยน)

 

สรรพคุณของกล้วยนวล

  • รากเหง้าใช้เป็นยาแก้ถ่ายท้องได้เป็นอย่างดี (รากเหง้า)[1]
  • น้ำใส ๆ ที่อยู่ภายในโพรงหัว ใช้รักษาผมร่วง (น้ำใสที่อยู่ในโพรงหัว)[1]

ประโยชน์ของกล้วยนวล

  1. ผลอ่อนนำมาใช้ทำส้มตำกล้วย[3] หรือใช้รับประทานสด หรือจะใช้ผลดิบเป็นเครื่องเคียงก็ได้[5]
  2. ยอดอ่อนนำมาใช้ทำแกงหยวกกล้วยใส่ไก่ มีรสหวานเล็กน้อย[3]
  3. ปลีกล้วยสามารถนำมารับประทานได้ด้วยการนำไปแกง (เมี่ยน)[2]
  4. บ้างว่ากล้วยชนิดนี้รับประทานไม่ได้ แต่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสุกรได้[4] โดยกาบกล้วยใช้เป็นอาหารสุกร (เมี่ยน)[2]
  5. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในสวน[5]
  6. ใบนำมาใช้รองผักหญ้า รองข้าวเหนียวตอนอุ่นในลังถึง หรือใช้กาบใบนำมาทำเชือกสำหรับรัดสิ่งของ หรือใช้สับทำปุ๋ยใส่โคนต้นไม้อื่น[6]


 อ้างอิงเต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

https://eherb.hrdi.or.th/

https://medthai.com/