จันทร์หอม

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei. วงศ์ :STERCULIACEAE
  • ชื่ออื่น :จนั ทน์จนั ทน์ขาวจนั ทน์พม่าจนั ทนหอม ์ ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ผลัดใบ ล าต้น ตรง เปลือก เรียบสีเทา กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย ใบ เดี่ยวรูปรี ติดเรียงสลับ โคนใบตัด หรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแหลม เน้ือใบค่อนข้างหนา สีเขียว อ่อนๆ เส้นใบ  3 เส้น ออกจากจุดโคนใบมีเส้นแขนง 4-6 คู่ขอบใบส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบลกัษณะเป็นคลื่น มีขนประปราย ดอก สีขาวขนาดเล็กออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกรูปซ้อนมี 5 กลีบ ไม่ติดกัน กลีบฐานดอกติดกัน เป็นรูปเหยือกน้ำปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ด้านนอกมีขน ส่วนดา้นในเกล้ียง เกสร เพศผู้10 อัน รังไข่ 5 พู อยู่เบียดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น ผลรูปกระสวย มีปีกรูปสามเหลี่ยมติดที่ ปลายผล มักอยู่เป็นคู่
  •  ประโยชน์ : ขับลมในลำไส้แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อแก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู เนื้อไม้แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้วิงเวียน หน้ามืด ให้สดชื่นสดใส บำรุงประสาท แก้ไข้แก้เหงื่อตกหนัก แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับ ปอด ให้เป็นปกติ

http://forprod.forest.go.th/




  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei J.R. Drummond
  • วงศ์ Sterculiaceae
  • จัดเป็นกลุ่มไม้ที่มีเนื้อไม้หอม สถานภาพเป็นไม้ป่าที่ถูกคุกคามต่อการตัดฟันมาใช้ประโยชน์ กอปรกับ ไม้จันทน์หอมในป่าธรรมชาติมีการพัฒนาของกล้าไม้ไปสู่ระยะไม้รุ่นและไม้ใหญ่ในอัตราส่วนที่น้อยมาก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแม่ไม้ในการกระจายพันธุ์ และอาจนำไปสู่การสูญหายของไม้จันทน์หอมได้ในอนาคต 
  • ลักษณะสภาพแวดล้อมที่พบการปรากฏของไม้จันทน์หอม

    การปรากฏของไม้จันทน์หอมมีความจำเพาะกับพื้นที่ที่มีหินปูนเป็นต้นกำเนิด พบในพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 650 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถพบได้ในพื้นที่สูงชัน มีลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบแล้งผสมเบญจพรรณหรือป่าดิบแล้งระดับต่ำ-กลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียว พบขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงสูง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,000 – 2,500 มิลลิเมตร

    การใช้ประโยชน์ที่พบในปัจจุบันและศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านไม้ประดับแห้ง

    เนื้อไม้:
    เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แม้จะเป็นไม้สด เมื่อนำไปเลื่อยมีกลิ่นหอมชัดเจน การใช้ประโยชน์เนื้อไม้ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก หวี ธูป รวมถึงการนำมาใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเจ้านายชั้นสูง และทำดอกไม้จันทน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนขี้เลื่อยใช้ทำธูปหอม
    ใบ:
    ใบสามารถนำมาฟอกสีเพื่อทำดอกไม้จันทน์ ใช้ประโยชน์เชิงสัญลักษณ์จากที่มาของไม้จันทน์หอม
     
    กิ่งก้าน:
    สามารถนำมาตกแต่งเป็นส่วนประกอบของดอกไม้จันทน์ โดยใช้การเหลาเป็นเกลียวหรืออื่นๆ ตามเทคโนโลยีที่มี
     

    ใบจันทน์หอมที่ผ่านการฟอกสี


    เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
    กมลทิพย์ เรารัตน์, สำนักวิจัย


    https://www.hrdi.th/Articles


    ดอกไม้จันทน์จากเนื้อไม้จันทน์หอม

    ขี้เลื่อยไม้จันทน์หอมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำธูปหอม