แดง

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ประเภทพืช พืชดอก

บรรยายลักษณะ

ต้น: ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูง 10-25 เมตร ค่อนข้างเปลาตรงหรือลำต้นมีปุ่มปม เรือนยอดกลมหรือไม่แน่นอน

ใบ: ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ใบเรียงสลับ แต่ใบย่อยจะเรียบตัวแบบตรงข้าม ใบย่อยมีจำนวน 8-12 คู่ (รวมทั้งสองแกนกลาง) ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาดเฉลี่ยของใบ กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายจะใหญ่ที่สุด มีต่อมระหว่างก้านใบต่อกับ 1st rachis และมีต่อมที่ 2nd rachis บริเวณที่ใบย่อยอยู่ตรงข้ามกัน ฐานใบย่อยกลม ปลายใบย่อยกลมหรือแหลม ขอบใบย่อยเรียบ ใบย่อยเมื่ออ่อนสีน้ำตาลแดง มีขนสั้นด้านท้องใบ

ดอก: ช่อดอกแบบซี่ร่มกลม เรียงอัดเป็นก้อนกลม ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้านหรือออกเป็นกลุ่มๆ เกิดที่ปลายกิ่งหรือตามกิ่ง ดอกสีเหลือง ดอกขนาดเล็ก โคนดอกติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบ ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนประปรายถึงมีขนสั้นหนานุ่ม เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกเป็นอิสระ อับเรณูไม่มีต่อม รังไข่อยู่่เหนือวงกลีบ มีกลิ่นหอม

ผล: ฝักเปลือกแข็ง แบน สีน้ำตาลแดง ผลแตกทั้งสองด้าน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร เปลือกผลแข็ง ฝักบิดโค้ง เมล็ดแบน ค่อนข้างกลม สีน้ำตาล

เปลือก: เปลือกนอกสีเทาปนเขียวถึงสีน้ำตาลแดงหรือเทาอมแดง ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดบางๆ รอบต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง ผิวเปลือกในสีเขียว

อื่นๆ: ผลัดใบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน ผลแก่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์

พบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทั่่วทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 850 เมตร ต่างประเทศพบในพม่า ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม

การใช้ประโยชน์ สมุนไพร,ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย