สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ
ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
มะเขือพวง
มะเขือพวง ชื่อสามัญ Turkey berry, Devil's fig, Wild eggplant, Pea eggplant, Pea aubergine, Shoo-shoo bush
มะเขือพวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum ficifolium Ortega, Solanum mayanum Lundell) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
สมุนไพรมะเขือพวง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือละคร (นครราชสีมา), มะแว้งช้าง (สงขลา), มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ), หมากแข้ง (ภาคอีสาน), เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้) เป็นต้น
มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน
สำหรับในประเทศไทยบ้านเรานั้นรู้จักมะเขือพวงมานานแล้ว โดยนิยมนำผลมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ด เป็นต้น
มะเขือพวงมีสารโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะสารนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้
สรรพคุณของมะเขือพวง
- สารโซลาโซดีน (Solasodine) ในมะเขือพวงช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
- มะเขือพวงมีสาร ทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า
- มะเขือพวงมีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ
- มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่
- สารเพกทินในมะเขือพวงมีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินและอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส ( Syphilis) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum (ใบสด)
- สารต่อต้านอนุมูลอิสระในมะเขือพวงช่วยป้องกันความเสื่อมและช่วยชะลอความแก่
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
- ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ง่วงนอน
- ใช้เป็นยาระงับประสาท (ใบสด)
- ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
- ช่วยทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
- ช่วยขับเหงื่อ (ใบสด)
- แก้อาการชัก (ใบสด)
- แก้อาการหืด (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้พิษในร่างกาย ด้วยการนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงแล้วนำมาต้มดื่ม (ราก)
- ช่วยป้องกันภาวะเลือดแข็งตัว
- ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารจะช่วยบำรุงสายตา
- แก้อาการปวดฟัน ชาวมาเลเซียนำเมล็ดมะเขือพวงไปเผาให้เกิดควัน แล้วสูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน (เมล็ด)
- น้ำคั้นใบสดช่วยลดไข้ (ใบสด)
- ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ รวมไปถึงอาการไอเป็นเลือด
- ช่วยบรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้
- สารสกัดจากมะเขือพวงมีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด
- ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้ เพื่อป้องกันสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยในการย่อยอาหาร
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสารเพกทินที่ทำหน้าที่ดึงน้ำไว้ได้จำนวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณของอุจจาระ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่ายขึ้นมาก
- ช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร
- ช่วยในการขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
- มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยบำรุงไต ช่วยป้องกันและรักษาอาการเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมที่ใช้รักษามะเร็งได้
- ใบสดใช้แก้ปวด ปวดข้อ (ใบสด)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้น้ำสกัดจากลำต้นมะเขือพวง (ต้น)
- ช่วยรักษาฝีบวมมีหนอง
- ใบสดใช้พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น ช่วยทำให้ฝียุบ (ใบสด)
- ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อนตามผิวหนัง (ต้น)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ใบสด)
- ในแคเมอรูนใช้ใบสดในการช่วยห้ามเลือด (ใบสด)
- ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้
- มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ป้องกันการอักเสบเฉียบพลัน
- ช่วยรักษารอยเท้าแตก ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณรอบเท้าแตก (ราก)
- ช่วยแก้โรคตาปลา ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นตาปลา (ราก)
คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวงสดต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 24 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
- น้ำตาล 2.35 กรัม
- เส้นใย 3.4 กรัม
- ไขมัน 0.19 กรัม
- โปรตีน 1.01 กรัม
- วิตามินบี 1 0.039 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.037 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.649 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.281 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.84 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.16 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : เว็บไซต์หมอชาวบ้าน)
https://medthai.com/มะเขือพวง