ขมิ้นเครือ

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


Arcangelisia Flava Stem is the dried stem of Arcangelisia flava (L.) Merr. (Family Menispermaceae), Herbarium Specimen Number: DMSC 857, Crude Drug Number: DMSc 426.

Constituents Arcangelisia Flava Stem contains berberine as the major alkaloidal component. It also contains other isoquinoline alkaloids (e.g., columbamine, palmatine, jatrorrhizine), diterpenoids, etc.

Description of the plant (Figs. 1a, 1b) Large climber, woody, glabrous, dioecious; stem up to 5 cm in diameter, wood yellow, exuding yellow sap when cut, bearing prominent cup-like, petiole-scars. Leaves usually ovate, elliptic-ovate or broadly ovate, 10 to 25 cm long, 5.5 to 19 cm wide, base usually rounded, truncate or slightly cordate, apex abruptly acuminate, palmately 5-nerved at the base and with 1 to 3 pairs of lateral nerves, usually arising from above halfway along the midrib, both surfaces usually with a rather obscure reticulum, coriaceous; petiole 4 to 20 cm long, swollen at both ends, geniculate at base. Inflorescence axillary or cauliflorus paniculate, slender, 10 to 50 cm long, lateral branches spicate to subspicate, 1 to 5 cm long. Male flower sessile or subsessile, subtended by an ovate bracteole, about 2 mm long, strongly thickened at the base; outer sepals 3 to 4, less than 1 mm long; inner sepals 2 whorls of 3, larger, elliptic, ovate or narrowly obovate, 1.5 to 2.5 mm long; synandrium 0.5 to 1 mm long with a globose cluster of 9 to 12 anthers. Female flower main sepals 6, narrowly oblong with the apex becoming reflexed, 2.5 to 4 mm long; staminodes minute, scale-like; carpels 3, 1.5 mm long; stigma broad, sessile, papillose. Infructescence cauliflorous, usually branched, 5 to 45 cm long, with thickened axis and branches, 3 to 6 mm in diameter, the fruits plus carpophores borne on the lateral branches, 1 to 3 borne together on a club-shaped, unbranched carpophore swollen at the apex, up to 4 cm. Fruit drupe, yellow, laterally slightly compressed, transversely subovoid, 2.2 to 3 cm long, 2.5 to 3.3 cm (long axis), 2 to 2.5 cm thick, drying finely rugulose, glabrous; endocarp woody. Seeds broadly ellipsoid, with ruminate endosperm, cotyledons much folded.

Description Odourless; taste, bitter

          Macroscopical (Fig. 1a) Cylindrical, segmented or oblique pieces; externally brownish, rather smooth; sectional view golden yellow to yellowish when fresh and brownish yellow when dried, porous, with several successive concentric and distinctly radiate zones.

          Microscopical (Figs. 2a, 2b) Transverse section of the stem shows several layers of rectangular, brownish cork cells and layers of lignified thick-walled, yellowish rectangular sclerenchymatous cells. Cortex, dark brown band of ovate parenchyma cells. Anomalous vascular tissues, several layers of tissue bands with distinct rays, each layer separated by layers of sclereids; phloem tissues, with groups of thick-walled sclereids and fibres in the outermostregion; xylem tissues, simple pitted and bordered-pitted vessels, xylem fibres and rectangular or oblique or elongated xylem parenchyma containing prisms and starch grains. Pith, parenchyma cells containing prisms and starch grains.

ลักษณะของขมิ้นเครือ

  • ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่ จะมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างตรง มีโค้งงอบ้างบางตอน ผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบางมีรอยแตกเล็ก ๆ เป็นแนวตามยาวของราก รอยแตกที่พาดขวางจะเป็นรอยนูนเล็กน้อย รากขมิ้นเครือที่แห้งแล้ว ผิวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีรอยแตกพาดขวางอยู่ทั่วไป เปลือกหลุดง่าย[5] จัดเป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มักขึ้นตามชายป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ที่จีน (เกาะไหหลำ) ภูมิภาคมาเลเซีย และภูมิภาคอินโดจีน[3]

ต้นขมิ้นเครือ

  • ใบขมิ้นเครือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่แกมรี รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ตัด หรือเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบไม่มีขน มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ 5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ โดยมักจะออกเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบไป เมื่อแห้งแล้วจะเห็นเส้นร่างแหไม่ชัดเจน ก้านใบยาว ที่โคนและปลายบวม โคนก้านใบงอ[1],[2],[5]

เถาขมิ้นเครือ

ใบขมิ้นเครือ

  • ดอกขมิ้นเครือ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามง่ามใบหรือตามเถา ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แตกกิ่งด้านข้างยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีสีขาวแกมเหลืองหรือแกมเขียว โดยดอกเพศผู้จะไม่มีก้านหรือก้านสั้น มีใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร โคนหนาเห็นได้ชัด กลีบเลี้ยงวงนอกมีประมาณ 3-4 กลีบ มีขนาดสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร ส่วนวงในใหญ่กว่า มีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้จะเชื่อมกัน ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ปลายโค้ง มีเกสรเพศผู้ปลอมขนาดเล็กลักษณะคล้ายเกล็ด เกสรเพศเมียจะมี 3 อัน ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม[1],[2] ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[3]
  • ผลขมิ้นเครือ ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ออกเป็นช่อตามลำดับ มักแตกก้านยาวประมาณ (5-)7-30 (-45) เซนติเมตร แกนกลางและก้านใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ผลกับก้านผลจะแตกจากด้านข้าง มีประมาณ 1-3 ผลติดอยู่ด้วยกันบนก้านที่มีลักษณะเป็นรูปตะบอง ที่ปลายบวมยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ผลสุกเป็นสีเหลือง ค่อนข้างแบน ด้านข้าง รูปกึ่งรูปไข่ตามขวาง ยาวประมาณ 2.5-3.3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2-3 เซนติเมตร และหนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะย่น ขนเกลี้ยง ผนังผลชั้นในแข็ง[1],[2] ภายในผลมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 เมล็ด ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[3]

ผลขมิ้นเครือ

สรรพคุณของขมิ้นเครือ

  1. ตำรายาไทยจะใช้เนื้อไม้ขมิ้นเครือเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต (เนื้อไม้)[1],[5] น้ำต้มจากลำต้นหรือรากใช้เป็นยาบำรุง (ลำต้น, ราก)[2]
  2. รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำเหลือง (ราก)[5]
  3. ลำต้นและรากใช้เป็นยาแก้เบาหวาน (ลำต้นและราก)[4]
  4. รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ราก)[5]
  5. ลำต้นและรากมีสารอัลคาลอยด์ชื่อ berberine ซึ่งใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร รักษามาลาเรีย แก้ไข้ และรักษาโรคอหิวาต์ได้ผลดีเทียบเท่ากับยาคลอแรมเฟนิคอล (ลำต้นและราก)[1]

  1. ยางจากต้นใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ (ยาง)[2]
  2. น้ำต้มจากลำต้นหรือราก ใช้เป็นยาแก้ไอ (ลำต้น, ราก)[2]
  3. รากใช้เป็นยาขับลม (ราก)[5]
  4. น้ำต้มจากลำต้นหรือกิ่งก้าน ใช้เป็นยาแก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
  5. ยางจากต้นใช้เป็นยาแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ยาง)[2]
  6. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[4]
  7. ในซาราวักจะใช้ลำต้นและรากเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ลำต้นและราก)[4]
  8. เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (เนื้อไม้)[5]
  9. รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)[1]
  10. เนื้อไม้ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ส่วนน้ำต้มจากลำต้นหรือรากมีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือน แก้ปวดท้อง (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[2],[5]
  11. ลำต้นหรือกิ่งก้านนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
  12. เนื้อไม้ใช้ขูดเป็นยาล้างแผลพุพอง แผลเรื้อรัง และแก้อาการคัน (เนื้อไม้)[2]
  13. ชาวม้งจะใช้ใบขมิ้นเครือนำมาทุบแล้วใช้ห่อพันบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น (ใบ)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นเครือ

สมุนไพรขมิ้นเครือ

  • มีรายงานพิษต่อเม็ดเลือดในหลอดทดลอง แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงควรมีการทดลองทางพิษวิทยาเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้[1]
  • รากและลำต้นที่ได้มาจากร้านขายยาแผนโบราณจากป่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณของสาร berberine อยู่สูงถึง 3.22% โดยขมิ้นเครือจากตลาดจะมีปริมาณของสารดังกล่าวอยู่น้อยกว่ามาก ส่วนขมิ้นเครือของจังหวัดสงขลานั้นไม่มีเลย ส่วนรากขมิ้นเครือจากสวนสมุนไพร จังหวัดจันทบุรี จะมีปริมาณของสาร berberine สูงสุด[5]

ประโยชน์ของขมิ้นเครือ

  • เมล็ดขมิ้นเครือมีพิษ หากรับประทานอาจทำให้อาเจียนและถึงตายได้ มันจึงถูกนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลา[2]
  • ในกาลิมันตันจะใช้สีเหลืองจากลำต้นนำมาย้อมเสื่อที่ทำจากหวาย ส่วนในอินเดียและอินโดจีนจะใช้ย้อมผ้า และบางครั้งก็นำสีเหลืองที่ได้ไปผสมกับสีจากคราม ซึ่งจะทำให้ได้สีเขียว[4]