สามสิบสองประดง, ประดงแดง, สิรินธรวัลลี

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ
ชื่อดอกไม้
ดอกสิรินธรวัลลี
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bauhinia sirindhorniae
วงศ์
FABACEAE
ชื่ออื่น
สิรินธรวัลลี (ภาคกลาง และทั่วไป) สามสิบสองประดง, ประดงแดง (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่วไป
ต้นสิรินธรวัลลี เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยได้ยาวมากกว่า 20 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งในวงศ์ถั่ว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมแดง กิ่งแก่ไม่มีขน กิ่งเกลี้ยง ใบ เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่จนเกือบกลม ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อใบแก่มีสีเขียวแก่ ปลายใบฉีกเป็นสองแฉก ฐานใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบพูมน มีขนบริเวณเส้นกลางใบ แผ่นของใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเข้มเป็นมัน เส้นใบข้างละ 9–11 เส้น จากโคนใบ ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ดอก มีสีน้ำตาลแดงหรือสีส้มเข้ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกตูมรี ช่อดอกยาวได้ถึงประมาณ 15 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะบานมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม
เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ปลูกได้ทั้งการปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
ถิ่นกำเนิด
เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่ภูทอกน้อยจังหวัดบึงกาฬ ต่อมากรมป่าไม้ได้ขอพระราชทานชื่อด้วยการใช้พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพราะพระองค์ได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับทางด้านพฤกษศาสตร์มาตลอด


ประโยชน์สิรินธรวัลลี/ประดงแดง
1. ดอกสิรินธรวัลลีออกดอกเป็นช่อใหญ่ ตัวดอกมีสีน้ำตาลแดงสวยงาม จึงใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน และสถานที่ราชการ
2. สิรินธรวัลลีมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยหนา และแตกใบดก จึงปลูกเพื่อทำซุ้มสำหรับเป็นร่มเงาบังแดด

สรรพคุณสิรินธรวัลลี/ประดงแดง
ราก และลำต้น
– ราก และลำต้นนำมาต้มดื่ม ช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
– น้ำต้มนำมาดื่ม แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
– ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
– ราก และเปลือกนำมาต้มอาบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ผื่นแพ้ แก้ลมพิษ
– น้ำต้มอาบช่วยรักษาโรคผิวหนัง
– รากนำมาฝนหรือบด ก่อนใช้ทารักษาแผลสด หรือ แผลมีน้ำหนอง
– นำมาฝนทารักษาอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

ใบ
– ดอกนำมาต้มดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยในการขับพยาธิ
– ใบนำมาบด ก่อนใช้ประคบรักษาแผลสด แผลมีน้ำหนอง

ดอก
– ดอกนำมาตากแห้ง ก่อนใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ช่วยการเจริญอาหาร และบำรุงร่างกาย
– ช่วยรักษาฝี
– รักษาบาดแผล
– แก้น้ำหนองไหล
– แก้ริดสีดวง
– บำรุงระบบประสาท
– กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
– ปรับความดันเลือดให้ปกติ
– ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
– ช่วยแก้พิษไข้ แก้พิษบาดแผลอักเสบ
– แก้อาการปวดบวม

ผล
– ดอกนำมาต้มดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ
– แก้โรคหนองใน หรือกามโรคต่างๆ
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– แก้น้ำหนองไหล
– แก้ริดสีดวง

ข้อควรระวัง
สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานยาสมุนไพรที่ใช้ทุกส่วนของสิรินธรวัลลีเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้แท้งได้


ขอบคุณภาพจาก www.phargarden.com, www.pharmacy.msu.ac.th

เอกสารอ้างอิง
untitled