ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
สำมะงา
สำมะงา ชื่อสามัญ Garden Quinine, Petit Fever Leaves, Seaside Clerodendron[3],[4]
สำมะงา ชื่อวิทยาศาสตร์ Volkameria inermis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.) จะจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรสำมะงา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สำมะลิงา (ชัยภมูิ), เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สัมเนรา (ระนอง), สักขรีย่าน (ชุมพร), สำปันงา (สตูล), สาบแร้งสาบกา (ภูเก็ต), สำลีงา ลำมะลีงา สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), คากี (ภาคใต้), จุยหู่มั้ว โฮวหลั่งเช่า (จีน), ขู่เจี๋ยซู่ สุ่ยหูหม่าน (จีนกลาง), สามพันหว่า เป็นต้น
สรรพคุณของสำมะงา
1.รากสํามะงามีรสขม ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ด้วยการใช้รากแห้ง 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ (ราก)
2.ใบมีรสขมเย็น แต่มีพิษ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย (ใบ) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้หวัด ตัวร้อน ไข้มาลาเรีย (ราก)
3.รากมีรสขมเป็นยาเย็น มีพิษและมีกลิ่นเหม็น มีสรรพคุณเป็นยาขับลมชื้น (ราก)
4.ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (ราก)
5.ใบสํามะงามีสรรพคุณเป็นยาฆ่าพยาธิ (ใบ)
6.ช่วยแก้ตับอักเสบ แก้ตับและม้ามโต (ราก)
7.หากแผลมีเลือดออก ให้ใช้ใบตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงแล้วนำไปโรยบนแผล จะช่วยห้ามเลือดและสมานแผลสดได้ (ใบ)
8.ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย ด้วยการใช้ใบนำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำชะล้างก็ได้ หรืออาจตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงทา หรือโรยบริเวณทีเป็น (ใบ)
9.ช่วยรักษาแผลฟกช้ำดำเขียวบวม อันเนื่องมาจากถูกกระทบกระแทก เอวเคล็ด เคล็ดขัดยอก ให้ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้า ใช้ทาถูบริเวณที่ปวด (ใบ) ส่วนรากมีสรรพคุณแก้อาการบวมตามร่างกายบางส่วน หรือแผลบวมเจ็บที่เกิดจากการกระทบกระแทกเช่นเดียวกับใบ (ราก)
10.ทั้งต้นสดหรือต้นแห้ง มีรสเย็นเฝื่อน นำมาสับเป็นชิ้น ๆ ประมาณ 3-4 กิ่ง แล้วต้มกับน้ำอาบหรือใช้ชะล้างแผล ใช้รักษาโรคผิวหนังพุพอง และน้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)
อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B2/