เม้าหลวง

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


มะเม่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma puncticulatum Miq. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Antidesma bunius var. thwaitesianum (Müll.Arg.) Trimen, Antidesma thwaitesianum Müll.Arg.) จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

สมุนไพรมะเม่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมากเม้า บ่าเหม้า (ภาคเหนือ), หมากเม่า (ภาคอีสาน),  มะเม่า ต้นเม่า (ภาคกลาง), เม่า, เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ เป็นต้น

พืชในตระกูลมะเม่ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 170 ชนิด และกระจายอยู่ในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะอินโดนีเซีย และเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่จะมีอยู่เพียง 5 สายพันธุ์เท่านั้นที่พบได้มากในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ มะเม่าหลวง มะเม่าสร้อย มะเม่าไข่ปลา มะเม่าควาย และมะเม่าดง แต่ถ้าหากเราพูดถึง "มะเม่า" เฉย ๆ ก็จะหมายถึง เม่าหลวง นั่นเองครับ


สรรพคุณของมะเม่า

1.ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย

2.รสฝาดของผลมะเม่าสุก จะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย

3.รสขมของมะเม่าจะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้

4.ทั้งห้าส่วนของมะเม่าใช้ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะได้ (ผล, ราก, ต้น, ใบ, ดอก)

5.น้ำมะเม่าสกัดเข้มข้นใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ดีเหมือนน้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

6.มะเม่ามีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย (กัมมาลและคณะ, 2546)

7.ช่วยบำรุงสายตา (ผลสุก)

8..ช่วยแก้กษัย (ต้น, ราก)มะเม่าหลวง

9.ช่วยขับโลหิต (ต้น, ราก)

10.มะเม่ามีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผลสุก)

อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2/