อบเชยจีน

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum camphora ( L . ) J.S. Presl / Cinnamomum aromaticum Nees

วงศ์ : Lauraceae.

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ไม่ผลัดใบพบทางตอนใต้ของจีน และกระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นำเปลือกไปทำเครื่องเทศที่เรียกอบเชย ตาอ่อนใช้เป็นเครื่องเทศได้เช่นกัน โดยพบในอินเดียและในจักรวรรดิโรมัน เปลือกไม้สีเทา ใบอ่อนเป็นสีแดง ในตำรายาจีน ก้านอ่อนใช้เป็นยาเรียกกุ้ยจือ (หรือกุยกี ใช้ขับเหงื่อ แก้หวัด ใช้ทำยาขับเหงื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและแก้ปวด เปลือกเรียกโร่วกุ้ย (จีนกลาง)หรือเหน็กกุ่ย (จีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยากระตุ้นกระเพาะอาหาร บำรุงไต

สรรพคุณ

อบเชยจีนเป็นพืชประจำถิ่นแถวเอเชียใต้ มีการบันทึกการใช้เป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังเป็นเครื่องเทศสำคัญจากเอเชียสู่ยุโรป นอกจากการเป็นเครื่องเทศ และเครื่องหอมแล้ว ยังมีการใช้เป็นยาสำหรับรักษาไซนัส หวัด หวัดใหญ่ มะเร็ง ล่าสุด ได้มีการค้นพบสรรพคุณของอบเชย โดยมีสรรพคุณช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ในอบเชย มีสาร Methylhydroxy Chalone Polymer(MHCP) ที่ทำให้เซลล์ไขมันตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้อินซูลินทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีฤทธิ์เหมือนอินซูลินคือช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย

 วิธีการนำไปใช้รักษาโรค

รับประทานผงอบเชยจีนประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน แบ่งเป็นเช้าครึ่งช้อนชา เย็นครึ่งช้อนชา รับประทานกับเครื่องดื่มเช่น นม โอวัลติน ชา กาแฟ โยเกิร์ต หรือบรรจุแคปซูลรับประทานได้ ควรรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน นอกจากนี้เพียงเอาชิ้นอบเชยแช่ในถ้วยชาก็สามารถใช้ลดน้ำตาลได้ และการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือต่ำนั้นก็ทำให้ความสามารถในการลดน้ำตาลไม่ต่างกัน

หมายเหตุ ถ้าไม่มีอบเชยจีน สามารถใช้อบเชยอื่นๆได้


นอกจากลดน้ำตาลในเลือดได้แล้ว อบเชยจีนยังช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันตัวร้ายLDL และลดคลอเลสเตอรอลได้ด้วย


อ้างอิง  https://sites.google.com/a/bcnu.ac.th/smunphir-raksa-bea-hwan-ld-radab-natal-ni-leuxd/home/xbchey-cin