จันทน์หิมาลัย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Santalum album L
 จัดอยู่ในวงศ์ Santalaceae
พืชชนิดนี้เป็นไม้ต้นขนาดเล็กกึ่งเบียน สูงราว ๖-๑๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ไม่มีหูใบ มีก้านใบยาวราว ๑เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก เรียบยาวราว ๓-๗ ซม. ดอกออกเป็นช่อสั้น ออกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบและกิ่งดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกติดกัน รูปชามโคม ปลายแยกเป็น ๔ แฉก เมื่อบานใหม่ๆสีฟางข้าว นานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วง ผลกลม ลักษณะราวเมล็ดถั่ว เมื่อแก่จัดสีเกือบดำ ภายในเมล็ดมีเพียงเมล็ดเดียว พืชนี้เพาะปลูกมากในทางตอนใต้ของอินเดีย ตั้งแต่เมืองไมซอร์ ถึงเมืองมัทราส เป็นการผูกขาดของรัฐบาล เมื่อพืชนี้โตเต็มที่คือมีอายุราว ๒๐-๔๐ปี จะถูกโค่นต้น ลอกเปลือกและกระพี้ออก เหลือแต่แก่นแล้วจึงตัดเป็นท่อนๆ หรือทำเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อส่งขายต่อไป แก่นจันทน์ที่มีขายในเมืองไทยโดยมากมาจากประเทศอินเดีย

แก่นจันทน์ หรือที่ฝรั่งเรียก sandal wood หรือ white sandalwood นั้นได้จากต้นจันทน์หิมาลัย

ตำราสรรพคุณยาโบราณไทยว่า แก่นจันทน์ มีรสขม หอม ร้อน ใช้แก้ไข้ แก้ดีกำเริบ แก้กระสับกระส่าย ตาลาย ชาวฮินดูใช้แก่นจันทน์เป็นยาขม ยาเย็น ยาฝาดสมาน แก้ไข้ แก้อาการกระหายน้ำ เอาแก่นจันทน์มาบดเป็นผงผสมเป็นส่วนผสมในยาทาแก้โรคไฟลามทุ่ง โรคผื่นคันเรื้อรัง และแก้อาการอักเสบ เมื่อนำแก่นจันทน์มากลั่นด้วยไอน้ำ ใช้ได้น้ำมันระเหยง่าย เรียกน้ำมันจันทน์ราวร้อยละ ๒-๕ น้ำมันนี้มีองค์ประกอบหลักเป็น a-santalol และ b-santalol ( รวมกันราวร้อยละ ๙๐-๙๗) น้ำมันนี้มีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม เคยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ใช้ผสมในเครื่องหอมและสบู่ เช่น น้ำอบไทย และสบู่
แก่นจันทน์เนื้อไม้ยังใช้ทำเครื่องประดับ แกะสลักเป็นพระพุทธรูป ตัวเอกในเรื่อง รามเกียรติ์ และทำของที่ระลึกต่างๆ เช่น พัด แก่นจันทน์หรือไม้จันทน์ที่ได้จากแก่นจันทน์หิมาลัยนี้ และใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงตามโบราณราชประเพณี ในปัจจุบันหายากขึ้น อีกทั้งเป็นของเทศ จึงใช้ไม้จันทน์ที่เป็นของที่เป็นไม้พื้นเมืองของไทยแทน คือ จันทน์ชะมด หรือ จันทน์พม่า 

https://www.lcdtvthailand.com/

ชื่ออื่น แก่นจันทร์, แก่นจันทน์เทศ, จันทน์เทศ, จันทน์หิมาลัย, sandal wood, sweet chandan, white sandalwood, white sandal wood ลักษณะของพืช ไม่ต้น กึ่งเบียน สูง 6-10(-18) เมตร ลำต้นเมื่ออ่อนเกลี้ยง มีเหลี่ยม เมื่อแก่รูปคล้ายทรงกระบอก เปลือกขรุขระ แตกเป็นร่องตามแนวนอน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2.2-3.1 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลมเล็กน้อย โคนมนหรือสอบเรียว ขอบหยักเป็นคลื่น แผ่นใบ คล้ายแผ่นหนังเปราะ เส้นแขนงใบนูนขึ้นทั้ง 2 ด้าน เส้นใบย่อยมักไม่โค้งจรดกัน ก้านใบเรียว กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาง 8-9 มิลลิเมตร

ช่อดอก แบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามลำต้นหรือกิ่งอ่อน มักพบตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ก้านช่อดอกเรียว บิดไปมาร กว้างประมาณ 0.6 มิลลิเมตร ยาว 1-1.3 เซนติเมตร เป็นร่องตามยาว มีดอก 9-15 ดอก ดอกตูมรูปลูกข่าง เมื่อบานสีขาวนวล แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีม่วง มีกลิ่นหอม ก้านดอก เรียว กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ฐานดอกกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบรวม 4-5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 1-1.5 มิลลิเมตร ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร โค้งพับลง เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากลีบรวมและเรียงตรงข้ามกับกลีบรวม ก้านชูอับเรณูกว้างประมาณ 0.3 มิลลิเมตร ยาวประมณ 2.5 มิลลิเมตร โคนก้านป่องเล็กน้อย ติดด้านหลังอับเรณู ก้านเกสรเพศเมียเป็นเหลี่ยม ฐานดอกรูปถ้วย กว้างประมาณ 0.3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียมี 3 พู ยาวถึง ประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ ผล รูปกลมหรือเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปกลมหรือรูปไข่กลับ มีเนื้อ ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ พืชชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองของเกาะติมอร์ พบขึ้นตามป่าโปร่งและป่าดิบแล้ว ปลูกมากทางตอนใต้ ของประเทศอินเดีย มีปลูกในประเทศไทย ลักษณะเครื่องยา จันทน์ขาวเป็นแก่นไม้รูปทรงกระบอก ความยาวไม่แน่นอน บางชิ้นโค้งเล็กน้อย ชิ้นส่วนของแก่น ที่ยังไม่ย่อยมักยาวประมาณ 1 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-30 เซนติเมตร ผิวนอกสีเหลืองอ่อนหรือสี น้ำตาลแกมสีเหลืองเนียนและเรียบ อาจพบรอยแผลหรือรอยแตกตามยาว รอยตัดสีเหลืองแกมสีน้ำตาล อาจเห็นวงปีชัดเจนหรือเห็นไม่ชัด รอยตัดตามยาวเป็นลายตรง เนื้อแน่น หักยาว กลื่นหอม เมื่อเปากลิ่นจะ หอมมากขึ้น รสเผ็ดเล็กน้อยเมื่อเคี้ยว องค์ประกอบทางเคมี จันทน์ขาวมีน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ร้อยละ 3-5 น้ำมันนี้ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น แอลฟา-แซนทานอล (α-santalol), บีตา-แซนทานอล (