โคล่า, Coca, Cola

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อสามัญ Coca, Cola
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythroxylum coca, E. truxillense
ชื่อวงศ์ Malvaceae
ชื่อวงศ์ย่อย Sterculioideae หรือ Sterculiaceaeต้นโคล่า

โคล่า เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา เป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบที่เจริญเติบโตอยู่ในเขตป่าดงดิบ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันประมาณ 125 สปีชีส์ มีความสัมพันธ์กับพืชในทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ในสกุล Theobroma หรือโกโก้ ในบางประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นก็มีการปลูกโคล่าบางสปีชีส์เพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ดด้วย เช่น ประเทศบราซิล จาไมก้า และอินโดนีเซีย เป็นต้น

ต้นโคล่า มีเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ผิวลำต้นค่อนข้างเรียบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย มีความสูงได้เต็มที่ถึง 20 เมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณปลายยอด แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเป็นมันวาว ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ใบที่โตเต็มที่มีความยาวถึง 30 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเหลืองขนาดเล็ก มีกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ ก้านดอกยาว ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ผิวผลเรียบ เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว และกลายเป็นสีแดงอมส้มเมื่อสุก ภายในผลมีเมล็ดที่ให้รสขมซึ่งมีปริมาณของคาเฟอีนอยู่พอสมควร

ประโยชน์
วัฒนธรรมในแถบแอฟริกาตะวันตก มักนิยมนำเมล็ดมาเคี้ยวกิน ใช้รับรองแขก หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ คล้ายกับหมากในวัฒนธรรมของไทย บางท้องถิ่นก็ใช้เป็นยาแก้อาการเมาค้างและแก้ปวดหัว

ในอดีตได้มีการใช้เมล็ดโคล่าเพื่อผลิตเครื่องดื่ม แต่ปัจจุบันได้ใช้สารแต่งกลิ่นและรสเทียมเข้าไปแทน เหลือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแค่บางชนิดเท่านั้นที่ยังทำมาจากเมล็ดโคล่าจริงๆเมล็ดโคล่า

ส่วนประโยชน์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโคล่าก็มีอยู่มากมาย เช่น
-ใช้แก้พิษแมงกะพรุน
-ทำให้หมากฝรั่งที่ติดเสื้อผ้าหลุดลอกออกมาได้
-ใช้ทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์
-ใช้ซักผ้าให้สะอาดให้สะอาดและมีกลิ่นหอม
-ใช้กำจัดมด ปราบศัตรูพืช ไล่แมลง
-ใช้เช็ดกระจกให้สะอาดใส
-ใช้ย่อยจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
-ใช้ขจัดคราบสนิม
-ใช้ล้างภาชนะในครัวให้ดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ

เเต่โคล่าก็ไม่ใช่เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อดื่มอาจทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และแก้กระหายได้เท่านั้น จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปจนเกิดอันตรายต่อร่างกาย


https://www.vichakaset.com/ลักษณะของต้นโคล่า