เพกา

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


เพกา (เปลือกของต้นเพกา ใช้ย้อมผ้าให้เขียวตองอ่อน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Oroxylum indicum  (L.) Kurz

วงศ์ :  Bignoniaceae

ชื่อสามัญ :  -

ชื่ออื่น : มะลิดไม้  มะลิ้นไม้  ลิดไม้  (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)

ส่วนที่ใช้             ราก ทั้งต้น ฝักอ่อน เมล็ด เปลือกต้น
สรรพคุณ
ราก  มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร  แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต ใช้ภายนอก ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม
เพกาทั้ง 5  คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด
ฝักอ่อน  ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ
เมล็ด  ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
เปลือกต้นตำผสมกับสุรา ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้ ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ
ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์  รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้องคสูตร แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา  แก้ฟกบวม แก้คัน
สารเคมี

ราก      มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols

แก่น     มี Prunetin, B- sitosterols

ใบ        มี Aloe emodin

เปลือก  มี  Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein

ที่มา

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_7.htm