พลับพลึงดอกขาว

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


พลับพลึงดอกขาว (C. asiaticum)

วงศ์ Amaryllidaceae

พืชวงศ์นี้มีสารพิษกลุ่มแอลคาลอยด์ เช่น lycorine, crinamine, criridine, narciclasine เป็นต้น พบ

ได้ในส่วนหัวของพืช สารพิษเหล่านี้ถ้ารับประทานเข้าไปจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และ

มีผลระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

การรักษา

ไม่แนะนำการทำให้อาเจียนเพราะคนไข้จะมีอาการอาเจียนอยู่แล้ว ควรจะล้างท้อง และใช้ถ่าน

(activated charcoal) ในการดูดพิษแอลคาลอยด์ และควรให้เกลือแร่ป้องกันการสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุ

สมุนไพรพลับพลึงขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลิลัว (ภาคเหนือ), ว่านชน (อีสาน), วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว, พลับพลึงดอกขาว เป็นต้น

ลักษณะของพลับพลึง

  • ต้นพลับพลึง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอ มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลม เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงราว 90-120 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้นและวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ในประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง

ต้นพลับพลึง

  • ใบพลับพลึง ใบมีสีเขียวจะออกรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของใบมีลักษณะใบแคบ เรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบหนาอวบน้ำ ความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
  • ดอกพลับพลึง ดอกเป็นช่อใหญ่ มีกลิ่นหอม แต่ละช่อมีดอกประมาณ 15-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร และสูงราว 90-120 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาก้านดอก ที่ดอกมีเกสรตัวผู้มี 6 ก้าน ชูสูงขึ้นจากดอก ที่ปลายเกสรมีสีแดง และจะทยอยออกดอกเรื่อย ๆ

พลับพลึง

พลับพลึงแดง

  • ผลพลับพลึง จะเป็นผลสีเขียวอ่อน ลักษณะของผลค่อนข้างกลม

สมุนไพรพลับพลึง เป็นพืชที่มีอายุยืนยาวนับสิบปี มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน เป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก และยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้เร็วอีกด้วย โดยสายพันธุ์ของพลับพลึงก็ได้แก่ พลับพลึงด่าง (Crinum variegates), พลับพลึงแดง (Crinum augustum), พลับพลึงเตือน (Crinum rubra), พลับพลึงแมงมุม (Hymenocallis caribaea), พลับพลึงใหญ่ (Crinum amabille) และพลับพลึงทอง (Crinum asiaticum L.) ที่เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากต้น Poison bulb

พลับพลึง มีสรรพคุณทางยาอยู่หลายประการ โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ใบ ราก และเมล็ด ถึงแม้ว่าพลับพลึงจะมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็นำมาใช้ได้แค่ภายนอกเท่านั้น เราจะไม่ใช้พลับพลึงเป็นยากินหรือใช้ภายในเนื่องจากมีพิษนั่นเอง

สรรพคุณของพลับพลึง

  1. พลับพลึงมีสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
  2. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบมาอังไฟแล้วใช้พันรอบศีรษะไว้ อาการปวดศีรษะก็จะทุเลาลง (ใบ)
  3. ช่วยขับเสมหะ (ใบ)
  4. ราก เมื่อนำไปเคี่ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไปจะช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
  5. ช่วยทำให้คลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
  6. ใช้เป็นยาระบาย (ใบ)
  7. ใบใช้ลนไฟ ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ (ใช้กันในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี)
  8. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้ (ใบ)
  9. ช่วยขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาจนหมด (เมล็ด)
  10. ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ (ใบ)
  11. ใบใช้ทำเป็นยาประคบ สูตรแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงผิว ด้วยการใช้ใบพลับพลึง / ใบมะขาม / ใบส้มป่อย / ใบเปล้า / ใบหนาด / ขมิ้นชัน / ไพล / การบูร / ผิวมะกรูด / เกลือแกง นำมาตำผสมกันแล้วทำเป็นยาประคบ (ใบ)
  12. ใบใช้ทำเป็นยาประคบเพื่อคลายเส้น ด้วยการใช้ใบพลับพลึง 8 บาท / ไพล 4 บาท / อบเชย 2 บาท / ใบมะขาม 12 บาท / เทียนดำ 1 บาท / เกลือ 1 บาท นำมาตำห่อผ้าแล้วนึ่งให้ร้อน แล้วนำมาใช้ประคบเส้นที่ตึงให้คลายได้ (ใบ)
  13. ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้ ด้วยการใช้ใบพลับพลึงนำมานึ่งไฟให้ใบอ่อนตัวลง แล้วนำมาพันรอบบริเวณที่เจ็บ (ใบ)
  14. ใช้ทำเป็นยาย่างช่วยรักษาอาการเลือดตกใน ตกต้นไม้ หรือควายชน ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบชมชื่น / ใบหนาด / ใบเปล้าใหญ่ / ใบส้มป่อย นำมาหั่นและตำแล้วนำไปทำยาย่าง (ใบ)
  15. ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใช้ใบพลับพลึงตำผสมกับข่าและตะไคร้ นำไปหมกไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก (ใบ)
  16. รากพลับพลึงใช้พอกแผลได้ ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล (ราก)
  17. ใบใช้ประคบแก้ถอนพิษได้ดี (ใบ)
  18. รากพลับพลึงสามารถใช้รักษาพิษจากยางน่องได้ (ราก)
  19. ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรหรือการอยู่ไฟได้ ด้วยการใช้ใบประคบบริเวณหน้าท้อง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง ช่วยขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยขจัดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย (ใบ)
  20. ใบพลับพลึงมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด (ใบ)
  21. ประโยชน์ของพลับพลึง

    1. ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามและให้กลิ่นหอม
    2. ประโยชน์ในด้านของพิธีกรรมความเชื่อ ก็มีการใช้ใบพลับพลึงนำมาซอยแล้วใส่ลงในขันน้ำมนต์ นำมาใช้ประพรมตัวเพื่อขับไล่ผีสางหรือสิ่งอัปมงคล
    3. ในด้านของความเป็นศิริมงคล มีการปลูกต้นพลับพลึงไว้ในบ้านเพื่อแก้เคล็ด ช่วยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคล ช่วยให้ชนะสิ่งไม่ดีทั้งปวงได้
    4. กาบใบสีเขียวของพลับพลึงมีคุณสมบัติคล้ายใบตอง สามารถนำมาใช้ทำเป็นงานฝีมือหรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ได้ เช่น การทำกระทง งานแกะสลัก เป็นต้น
    5. ดอกพลับพลึงสามารถนำไปวัดหรือใช้บูชาพระได้ (ลั้วะ)
    6. ดอกพลับพลึงมีกลิ่นหอม ช่อใหญ่และยาว นิยมนำมาใช้จัดแจกัน ทำกระเช้าดอกไม้ หรือมอบให้เป็นช่อเดี่ยว ๆ แทนดอกลิลี่ก็ได้

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สมุนไพรอภัยภูเบศร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, ส่วนส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอกไม้ประดับและสมุนไพร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, พจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์)

ภาพประกอบ : www.papad-garden.com, recipes2healthy.com, bloggang.com (kitpooh22)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)https://medthai.com/