พริกไทยดำ , พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย (ภาคเหนือ) , พริก (ใต้) ชื่อสามัญ Pepper ชื่อวงศ์ Piperac

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในแถบตอนใต้ของเทือกเขา กาต รัฐ เกละ ในประเทศอินเดีย และศรีลังกา ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศแถบที่มีอากาศร้อน เช่น บราซิล , อินเดีย , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ส่วนในไทยนั้น นิยมปลูกกันมากในจังหวัด จันทบุรี , ตราด และ ระยอง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมาก ในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน มีด้วยกัน 6 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง อย่างไรก็ตามพริกไทยก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมาก เพราะสามารถเป็นทั้งเครื่องปรุงรสชั้นเลิศ ที่เป็นที่นิยมทั่วโลกในปัจจุบัน และยังสามารถเป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณรักษาและบำบัดโรคได้อีกด้วย
 

ประโยชน์และสรรพคุณพริกไทย

  1. ขับลมในลำไส้  ขับลมในท้อง
  2. แก้ปวดท้อง
  3. ช่วยขับไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย
  4. ใช้เป็นสมุนไพรลดน้ำหนัก
  5. แก้ลมวิงเวียน
  6. ช่วยย่อยอาหาร
  7. แก้ลมพรรดึก (ก้อนอุจจาระที่แข็งกลม)
  8. แก้อติสาร (โรคลงแดง)
  9. แก้ลมจุกเสียด แก้แน่น ปวดมวนในท้อง
  10. แก้เสมหะ แก้ไอ
  11. บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
  12. ช่วยให้เจริญอาหาร
  13. ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย
  14. ช่วยขับปัสสาวะ
  15. เป็นยาอายุวัฒนะ
  16. แก้ลมชัก แก้โรคลมบ้าหมู
  17. แก้ตาแดง


        นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้พริกไทยในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 2 ตำรับ คือ
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของพริกไทยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
2. ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของพริกไทย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ
ตำรายาไทยพริกไทยจัดอยู่ใน “พิกัดตรีกฎุก” แปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ เมล็ดพริกไทย เหง้าขิงแห้ง และดอกดีปลี มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด” คือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ผลผักชีลา ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร
พริกไทยใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยาแผนโบราณของจีนและอินเดีย ใช้แก้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย
ยังมีอีกพิกัดหนึ่งคือ ตรีวาตผล เป็นพิกัดของยาที่มีสรรพคุณแก้ลม ประกอบด้วย ลูกสะค้าน เหง้าข่า และรากพริกไทย ใช้แก้ในกองลม แก้แน่นในทรวงอก แก้เสมหะ แก้เลือด บำรุงไฟธาตุ สรรพคุณที่เด่นที่สุดของพริกไทยก็คือ เป็นยาอายุวัฒนะ ดังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุวัฒนะโบราณของไทยที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น ตำรับยาวิเศษ ที่มาแต่เมืองพิษณุโลกตอนหนึ่งว่า “ถ้าจะให้เจริญอายุ ให้เอาเหงือกปลาหมอ ๒ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน ตำเป็นผงละลายน้ำกินทุกวัน ถ้ากินได้ ๑ เดือนจะหมดโรค และมีสติปัญญานักแล...” อีกตำรับหนึ่งเป็นตำรายาพิเศษของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า ชื่อยา “ไม่แก่เดินคล่อง” บอกสรรพคุณว่ากินแล้วไม่แก่เฒ่า อายุ ๗๕ ปี ยังเดินขึ้นเขาได้สบาย และยังมีบุตรได้ เป็นต้น ยาขนานนี้ประกอบด้วย ทิ้งถ่อน ตะโกนา บอระเพ็ด แห้วหมู เมล็ดข่อย พริกไทย และน้ำผึ้ง นับเป็นตำรับยาอายุวัฒนะที่รู้จักแพร่หลายที่สุดในประเทศไทยปัจจุบัน
ประโยชน์ในการลดความอ้วน ปัจจุบันได้มีผลการวิจัย จากประเทศสหรัฐอเมริกา ยืนว่าพริกไทยดำ สามารถลดความอ้วนได้จริง และสามารถลดน้ำหนัก ได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจาก ในพริกไทยดำ มีส่วนประกอบของสาร “ไพเพอร์รีน” ที่มีคุณสมบัติ ในการต่อต้านความอ้วน พริกไทยดำ มีจุดเด่นในเรื่องของ ความฉุน และรสชาติที่เผ็ดร้อน ช่วยในการควบคุม การก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ให้ลดลง พร้อมกับทำลายเซลล์ไขมันเก่า ที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย ให้มีจำนวนลดลง และกลับมาอ้วนได้ยากขึ้น และเข้าไปกระตุ้น การหลั่งของกรด ในกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกาย เผาผลาญพลังงาน ที่ได้รับจาการรับประทานอาหาร ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการสะสมของไขมัน ซึ่งเป็นสำเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดความอ้วน 
1. โดยจะนำมาทำ เป็นส่วนผสมของยาลด หรืออาหารเสริมลดน้ำหนัก มักนิยมนำพริกไทย มาป่นให้ละเอียด และผสมกับสมุนไพรตัวอื่น แล้วบรรจุลงแคปซูล หรืออัดเป็นเม็ด 
2. นำน้ำมันพริกไทยดำ มาผสมกับครีม หรือนำพริกไทยป่นมาผสมกับ น้ำมันมะกอก แล้วเอามาทา หรือนวดวน ๆ ที่บริเวณต้นแขน ต้นขา จุดที่เป็นเปลือกส้ม ไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าจุดนั้นเริ่มร้อน

สรรพคุณด้านอาหารของพริกไทย 
ผลและเมล็ดพริกไทยมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงรสได้ทั้งอ่อนและแก่ แกงที่ใช้พริกไทยเป็นองค์ประกอบมีหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด ฉู่ฉี่ แกงกะหรี่ แกงเลียง ทอดมัน ผัด โจ๊ก ข้าวผัด เป็นต้น

https://www.disthai.com/พริกไทย