กาแฟ

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น



กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้วเป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ได้มีการค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575  ในประเทศอาระเบีย (Arabia)  และในขณะเดียวกันก็มีบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังมีการเรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนัก  จนกระทั่งระยะเวลาล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9  มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ  เขาจึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า  จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟเป็นที่แพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบียเข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และประเทศฝรั่งเศส  ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (Strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (Vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆ ของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (Coffee)  อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้   เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด

         กาแฟมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลก  กาแฟโรบัสต้าและอราบิก้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปแอฟฟริกา จัดอยู่ในสกุล (Genus) และปลูกแพร่หลายในเชิงการค้าไปทั่วโลกซึ่งกาแฟกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในโลกเป็นพันธุ์อราปิก้า  ส่วนประเทศไทยนั้นนิยมปลูกกาแฟโรบัสต้า

  การขยายพันธุ์กาแฟที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ ที่มีกระทำกันปัจจุบันคือการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการพอสังเขป คือการนำผลกาแฟที่สุกเต็มที่มาแกะเอาเมล็ดออก และให้นำเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์


         การเพาะเมล็ด ทำได้โดยวิธีการนำเมล็ดที่ได้ล้างไว้สะอาดแล้ว  มาเรียงในกระบะเพาะเมล็ดที่มีวัสดุปลูกที่สมบูรณ์ (วัสดุดินเพาะ) โดยปิดเมล็ดและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จนระยะเวลาประมาณ  50 ถึง 60 วันเมล็ดกาแฟก็จะเริ่มงอก มีขนาด 1 ถึง 2 คู่ใบ จากนั้นให้ถอนต้นออกและนำไปเพาะต่อในถุงพลาสติกที่ได้บรรจุดินไว้หรือนำไปเพาะในแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้  โดยปลูกให้มีระยะ ประมาณ 30 X 100 เซนติเมตร   และรดน้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จนอายุได้ประมาณ 1 ถึง 1 ปีครึ่ง (มีใบอย่างน้อย 7 คู่ใบ) ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้

https://www.arda.or.th/

ชื่อสามัญ:Arabica coffee
ชื่อวิทยาศาสตร์:Coffea arabica L.
วงศ์:RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด:ประเทศเอธิโอเปีย
ลักษณะทั่วไป:ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ทรงพุ่มกลม
ฤดูการออกดอก:ที่สวนไม้หอมฯ ออกดอกในช่วงเดือน ธ.ค. - พ.ค.
เวลาที่ดอกหอม:หอมอ่อนตลอดวัน
การขยายพันธุ์:
เพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
สามารถออกดอกในพื้นที่ราบอย่างที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ ได้
เมล็ดเมื่อนำมาคั่วและบดให้ละเอียดนำมาชงกับน้ำรับประทานได้
ต้นพันธุ์ที่จะซื้อปลูกราคาไม่แพง
ข้อแนะนำ:
พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟคือ พื้นที่ร่มมีแสงแดดอ่อนประมาณ 50% หรือแทรกระหว่างต้นไม้อื่น
เป็นกาแฟที่ปลูกในที่มีอากาศเย็น เช่น ทางภาคเหนือของประเทศไทย จึงจะให้ผลผลิตที่ดี
ต้องการการปรับตัวในช่วงปีแรกเมื่อปลูกในที่ราบและอุณหภูมิค่อนข้างสูง อย่างที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ ดังนั้นจึงต้องดูแลในเรื่องแสงและน้ำเป็นพิเศษในช่วงปีแรก
การปลูกในที่มีแสงแดดจัดเกินไป ลักษณะต้นและใบจะไม่ค่อยสวยงาม การออกดอกมีมากแต่ขนาดและความสวยงามจะลดลง
ข้อมูลอื่นๆ:
กาแฟในเมืองไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ
กาแฟอาราบิก้า (3%) กลิ่นหอม อร่อย แต่ไม่ค่อยขม เมื่อชงเป็นกาแฟราคาต่อแก้วประมาณ 20 - 50 บาท เป็นกาแฟที่เราเรียกกันว่า กาแฟสด  ผู้รวบรวมเคยดื่มในช่วงที่ต้องขับรถยนต์ไกลๆ รสชาติดีมากแต่ออกฝาดลิ้นนิดๆ ดื่ม 1 แก้ว ตั้งแต่ตีสามขับรถไปถึงสามโมงเช้าก็ยังสดชื่นอยู่ แต่ไม่ควรดื่มบ่อยๆ โดยเฉพาะพวกคอกาแฟผงสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ไม่อยากดื่มกาแฟผงสำเร็จรูปอีก มันคนละรสกัน
กาแฟโรบัสต้า (97%) เป็นกาแฟที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภค กลิ่นไม่คอยหอม รสขมถูกลิ้นคนไทย และที่สำคัญคือราคาถูกกว่ากาแฟอาราบิก้า
เอกสารอ้างอิง:
1.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. -- กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 2546. 1,488 หน้า (113)
2.

Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001. 810 p. (147)

http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/