บาหยา , อ่อมแซบ ,เบญจรงค์5สี

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อสมุนไพร

บาหยา

ชื่ออื่นๆ

อ่อมแซบ ย่าหยา ผักกูดเน่า อังกาบ บุษบาฮาวาย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Asystasia gangetica (L.) T. Anderson

ชื่อพ้อง

Asystasia acuminata Klotzsch, A. bojeriana Nees, A. calycina Nees, A. comorensis var. humilis Nees, A. coromandeliana Nees, A. intrusa (Forssk.) Blume, A. plumbaginea Nees, A. quarterna Nees, A. violacea Dalzell, Dyschoriste biloba Hochst., Justicia gangetica

ชื่อวงศ์

Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่มล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ตั้งตรงหรือรอเลื้อย มีขน สูงถึง 1 เมตร  ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ยาว 3-4.5 เซนติเมตร กว้าง 2.4-3.5 เซนติเมตร ใบรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เส้นกลางใบมีขน ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม ผิวใบด้านหลังใบมีซิสโทลิท (cystolith) หรือผลึกของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ผิวใบสะสะมอยู่มาก ดอกออกเป็นช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายยอด โดยดอกจะติดอยู่บนแกนช่อดอก และทยอยบานจากโคนช่อขึ้นไปตามปลายยอด ช่อดอกยาว 16 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มิลลิเมตร ดอกรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกมีขน ด้านในเรียบ ดอกสีขาว สีเหลือง หรือสีม่วงอ่อน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว โคนหลอดกว้าง 3 มิลลิเมตร ปลายหลอดกว้าง 1 เซนติเมตร กลีบรูปกึ่งกลมแกมรูปไข่กลับ ขนาด 0.7-1.2 × 0.8-1 เซนติเมตร กลีบกลางมีปากล่างสีม่วง หรือสีออกม่วงเข้มอมน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขน วงกลีบยาว 7 มิลลิเมตร แบ่งเป็นพู รูปหอกแกมรูปเส้นตรง ขนาด 5-7 × 1-1.2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีต่อมขน ที่ขอบมีขนอ่อนเล็กๆ ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ขนาด 5 มิลลิเมตร มี 2 แผ่น มีขน ใบประดับย่อย รูปหอกแกมรูปเส้นตรง ขนาด 1-2.5 มิลลิเมตร มีขน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สีขาว เป็นอิสระ ก้านชูอับเรณูโค้งเข้าหากัน ก้านเกลี้ยง โคนเชื่อมติดบนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็นสองคู่ คู่ยาว ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร คู่สั้น ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร อับเรณูขนาด  3 × 1 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปรี ขนาด 3.5 มิลลิเมตร มีขน ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1.8 เซนติเมตร มีขนคล้ายกำมะหยี่ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม 2 พู ผลแบบแคปซูล ขนาด 1.3×2 เซนติเมตร  รูปทรงกระบอก มีขนปกคลุม  ผลแก่แตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ด 3-4 เมล็ด เมล็ดรูปไต แบน สีน้ำตาล ขนาด 3-5 × 0.5-3 มิลลิเมตร พบขึ้นตามที่รกร้าง ริมน้ำ ชายคลอง ทั่วไป ออกดอกราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนธันวาคมถึงมีนาคม

สรรพคุณ    
              ตำรายาไทย ใบ แก้ปวดบวม แก้ปวดตามข้อ ถ่ายพยาธิ และเป็นพืชอาหาร ใช้กินเป็นผัก
              ชนเผ่าทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ทั้งต้น ใช้รักษาโรคข้อรูมาติซึม ราก ใช้ภายนอก แก้ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ใบ รักษาเบาหวาน
              ประเทศแอฟริกาใต้ใช้ ทั้งต้น กินเป็นผัก น้ำสกัดจากต้นใช้ขับพยาธิ แก้อาการบวม รักษาโรคข้อรูมาติซึม โรคโกโนเรีย รักษาโรคหู
              ประเทศไนจีเรียใช้ ใบ เป็นยาเฉพาะที่ รักษาหอบหืด


องค์ประกอบทางเคมี
             ดอกพบไบฟลาโวนไกลโคไซด์ ได้แก่ apigenin 7-O-glucosyl (3'→6"), luteolin 7"-O-glucoside  ส่วนเหนือดิน พบ asysgangoside, 5,11-epoxymegastigmane glucoside, salidroside, benzyl beta-D-glucopyranoside, (6S,9R)-roseoside, ajugol, apigenin 7-O-neohesperidoside


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
             สารสกัดเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเมทานอลจากทั้งต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมลบ และแกรมบวก และเชื้อรา หลายชนิด
             สารสกัดน้ำ และเมทานอลจากลำต้นและใบ มีฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบในหนูทดลอง
             สารสกัดเอทานอลจากใบ มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด ในหนูทดลอง
             สารสกัดเมทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง
             สารสกัดเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเมทานอลจากใบ มีฤทธิ์ลดสารฮีสตามีนจากโรคหอบหืดจากการทดสอบด้วยชุดทดสอบแบบ in vitro


http://www.phargarden.com/

วิธีการปลูก
นำกระถางกระดาษมาเจาะรูที่ก้นเพื่อระบายน้ำใส่ดินให้พอดี หรือจะปลูกลงดินก็ได้ เลือกต้นอ่อมแซบที่จะมาปลูก โดยการเลือกกิ่งแก่ ริดใบที่แก่ออกเหลือใบอ่อน ปักลงดิน รดน้ำให้ชุ่มวันละ 1 ครั้ง เพาะขยายพันธุ์ การตัด ลำต้นไปปักกับดิน

ประโยชน์ด้านอาหาร ดอก ใบ ยอดอ่อน ก้าน ใบ ผัดไฟแดง แกงจืด แกงอ่อม ชุปแป้งทอด ลวก-กินสดจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณ

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว – นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ – ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต – ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม – ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
ใบ แก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่
ราก : แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว

http://chaipatpark.com/tips/