พริกนายพราน

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


สมุนไพรพริกนายพราน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เข็มดง พุดป่า (เลย), ช้าฮ่อม (ตาก), พริกผี (ยโสธร), พุดน้อย พุดป่า พุทธรักษา (อุบลราชธานี), มะลิฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร), เข็มดง พริกป่า พริกป่าใหญ่ พริกป่าเล็ก (ชลบุรี), พริกพราน (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นพริกนายพราน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเกลี้ยง มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร กิ่งมีช่องอากาศ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยมักขึ้นตามป่าดงดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และตามป่าละเมาะทั่วไป จนถึงระดับความสูง 400 เมตร

สรรพคุณของพริกนายพราน

  • ตำรายาไทย ระบุว่า ทั้งต้นมีรสเย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยดับพิษร้อน ส่วนรากมีรสสุขุม ใช้เป็นยาแก้โรคลม ปรุงเป็นยาแก้โลหิตเป็นพิษเนื่องจากชอกช้ำ และช่วยแก้ช้ำใน (ราก, ทั้งต้น)[1]
  • ยาพื้นบ้านมุกดาหาร จะใช้รากพริกนายพรานเป็นยาแก้ไข้ (ราก)[1]
  • ยาพื้นบ้านภาคกลาง จะใช้รากพริกนายพรานผสมกับรากต่อไส้และรากหนามพุงดอ ฝนกับเหล้าดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง (ราก)[1]
  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย และช่วยสมานแผล (ราก)[1]
  • ยาพื้นบ้านทางภาคอีสาน จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้ตกขาวของสตรี นำมาฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอเป็นเลือด หรือตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาทาแก้ฝี (ราก)[1]