สร้อยอินทนิล

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia grandiflora  (Roxb. ex Rottler) Roxb.
วงศ์ :  ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ :  Bengal clock vineKey Vine, Sky Flower, Heavenly Blue, Blue Trumpet,
ชื่ออื่น :  คาย (ปัตตานี) ช่องหูปากกา (ภาคใต้) น้ำผึ้ง (ชลบุรี) ปากกา (ยะลา) ย่ำแย้ (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลประมาณ 40-50 ฟุต เถาอ่อนมีสีเขียวเข้ม ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล บ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะรูปทรงใบจะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ หรือใบคล้ายใบพลูเพียงแต่ปลายใบจะแหลมกว่าใบพลู โคนใบเว้าหยักเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนแข็ง ๆ หากจับดูจะรู้สึกระคายมือใบมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอก สร้ายอินทนิลมีดอกสีฟ้าอ่อนถึงสีฟ้าเข้ม อกดอกเป็นช่อตามข้อต้นหรือตามซอกใบ ดอกช่อหนึ่ง ๆ ยาวประมาณ 3 ฟุต ลักษณะของดอกเป็นทรงกรวย ห้อยลง มี 5 กลีบ ขนาดของกลีบดอกไม่เท่ากัน โคนดอกเป็นหลอดปลายบานออก ภายในดอกมีเกสร 4 อัน ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน
          มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนเหนือ และกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ ทับเถาและหน่อ
ประโยชน์ 
รากและเถา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

http://www.rspg.or.th/plants_data

สรรพคุณของสร้อยอินทนิล

  1. ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก,ใบ,ทั้งต้น)[1],[2]
  2. ใบใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง (ใบ)[4]
  3. ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ ราก ใบ ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ราก,ใบ,ทั้งต้น)[1],[2]
  4. ใบใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลถลอก และช่วยห้ามเลือด (ใบ)[1],[2]
  5. ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทา พอก หรือเคี้ยวกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด (ใบ)[1],[2]
  6. ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ บวมเป็นก้อน ติดเชื้อ (ใบ)[1],[2]
  7. รากและเถาใช้เป็นยาพอกแก้ฟกช้ำบวม หรือใช้ตำพอกแผลแก้อักเสบ (รากและเถา)[4]
  8. ใบใช้เป็นยารักษากระดูกหัก มีอาการปวดกระดูก (ใบ)[1],[2]

ประโยชน์ของสร้อยอินทนิล

  • ต้นนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกประดับในซุ้มโปร่งเพราะจะมองเห็นดอกห้อยลงมาดูสวยงามมา หรือปลูกริมทะเลก็ได้ ดอกมีความสวยงาม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[4],[6]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “สร้อยอินทนิล (Soi Intanin)”.  หน้า 288.
  2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “สร้อยอินทนิล”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  หน้า 176.
  3. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “สร้อยอินทนิล”.  หน้า 212.
  4. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2.  “สร้อยอินทนิล”.
  5. ความเหมือนที่แตกต่างแห่งพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “สร้อยอินทนิล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [08 มิ.ย. 2014].
  6. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “สร้อยอินทนิล”  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th.  [08 มิ.ย. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Reinaldo Aguilar, Laszlo Bolgar, Mauricio Mercadante, Burnt Umber, 3Point141, Andre Benedito)


https://medthai.com/สร้อยอินทนิล