ซ้อ

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


 

ชื่อซ้อ
ชื่อพื้นเมืองแต้งขาว (เชียงใหม่), สันปลาช่อน (สุโขทัย), ม้าเหล็ก (กาญจนบุรี), เป้านก (อุตรดิตถ์), ช้องแมว (ชุมพร, ปราจีนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี), แก้มอ้น (นครราชสีมา, อุดรธานี, ชุมพร), ท้องแมว (สุพรรณบุรี, ราชบุรี), เมา (สุราษฎร์ธานี), เซาะแมว (นราธิวาส), เฝิง (ภาคเหนือ, เพชรบุรี), ซ้อ (คนเมือง), ไม้ซ้อ (ไทใหญ่, ไทลื้อ), ซึงโฉว้ (ม้ง), ลำชิล้า ลำซ้อ (ลั้วะ), ไม้เส้า (ปะหล่อง), ต๊ะจู้งก้ง (เมี่ยน), ตุ๊ดจะหระ (ขมุ)
ชื่อวิทยาศาสตร์Gmelina arborea Roxb.
ชื่อวงศ์LAMIACEAE หรือ LABIATAE
ชื่อสามัญLAMIACEAE หรือ LABIATAE
สรรพคุณรากใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก) ใบคั้นเอาแต่น้ำใช้ทารักษาแผลได้ (ใบ) ชาวเขาเผ่าลีซอจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด (เปลือกต้น) ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นซ้อ นำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการคัน (เปลือกต้น) หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาขูดเป็นฝอย ๆ บีบเอาแต่น้ำใช้ใส่แผลที่เกิดจากผื่นคัน (เปลือกต้น) ชาวไทใหญ่จะใช้เปลือกต้นนำมาต้มหรือใช้ตำพอกแก้อาการคันตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า (เปลือกต้น) เปลือกต้นต้มกับน้ำใช้แช่เท้ารักษาโรคเท้าเปื่อย (เปลือกต้น) เปลือกต้นมาทุบแล้วบีบเอาแต่น้ำใช้ใส่รักษาแผลที่เกิดน้ำกัดเท้าได้ดีมาก (เปลือกต้น)
ลักษณะต้นซ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยมและมีขนละเอียด มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยพบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล ภูฎาน พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาค โดยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร ใบซ้อ ใบเป็นเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลหรือแหลมยาว โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง แผ่ออกคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนท้องใบด้านล่างมีนวลและมีขนสั้นนุ่ม ใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 3-5 คู่ ออกจากโคน 1 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร เป็นร่องด้านบน ดอกซ้อ ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ โดยจะออกตามปลายกิ่ง มี 1 ช่อหรือหลายช่อ ยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีใบประดับหลุดร่วงได้ง่าย กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูประฆังยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ด้านนอกกลีบเลี้ยงมีขนติดทน ส่วนกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ลักษณะเป็นรูปปากแตรโป่งด้านเดียว ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ แบ่งเป็นกลีบบน 2 กลีบ และกลีบล่างอีก 3 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนด้านในหลอดกลีบเป็นสีครีมอ่อน ๆ กลีบปากล่าง กลีบกลางด้านในเป็นสีเหลืองแซม มีขนสั้นนุ่มอยู่ด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้สั้น 2 อัน และยาว 2 อีก ยื่นไม่พ้นปากหลอดกลีบดอก ก้นเกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอกตรงประมาณกึ่งกลาง รังไข่เกลี้ยง มีต่อม ส่วนยอดเกสรเพศเมียมีแฉก 2 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน ผลซ้อ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยงเป็นมัน มีกลิ่น ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลเป็นแบบเมล็ดเดียวและแข็ง บ้างว่ามีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ประโยชน์

ดอกนำมาตากแห้งทำ ขนมดอกซ้อ หรือผสมแป้งห่อขนมเทียน ลำต้นนำมาแกะสลักทำ ไหนึ่งข้าว เปลือกต้นต้มน้ำอาบแก้ผดผื่น คัน ใบลนตำพอกเท้าแก้น้ำกัดเท้า

http://trees4school.hsw.ac.th/