ทูน

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อ คูน
2. ชื่ออื่น บอน ทูนขาว ออกดิบ กระดาดขาว กะเอาะขาว ทูน ตูน เอาะดิบ ออดิบ หัวคูน

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia gigantea Hook. f.

4. วงศ์ ARACEAE

5. ชื่อสามัญ -

6. แหล่งที่พบ พบทั่วไปของทุกภาค

7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุก

8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ลำต้นสีขาวไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดินก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบยาวสีเขียวที่ผิวมีแป้งเคลือบอยู่

ใบ เป็นรูปหอกปนรีปลายใบมน ฐานใบเว้าริมใบเรียบหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ผิวใบมันและมีสีเขียว ใบกว้าง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว ก้านใบมีแป้งเคลือบอยู่มองดูมีสีขาวนวล เนื้อของก้านใบกรอบน้ำและมี รูอากาศแทรกอยู่ใน เนื้อก้านใบ

ดอก เป็นช่อออกเป็นแท่งเดี่ยวๆ ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกันฉ่ำน้ำ

ผล เป็นผลสดสีเขียว

9. ส่วนที่ใช้บริโภค ก้าน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ หน่อ เหง้า

11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ชุ่มชื้นขึ้นงอกงามได้ตลอดปีบริเวณที่มีน้ำเพียงพอ
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดทั้งปี

13. การปรุงอาหาร ก้าน ใบอ่อน รับประทานสดเป็นผักร่วมกับน้ำพริก แกงรสจัด ส้มตำ ลาบ ยำ หรือนำไป ปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงแค แกงกะทิ

14. ลักษณะพิเศษ คูน รสจืดเย็น เหมาะในการรับประทานช่วงฤดูร้อน ช่วยบรรเทาความร้อน



ทูน ส่วนภาคเหนือเรียกว่า ตูน ส่วนทางภาคใต้ จะเรียกว่า ต้นอ้อดิบ เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกับต้นบอน ก้านใบและแผ่นใบจะสีเขียวอ่อน มีนวล ผู้คนบางพื้นที่นิยมนำมาบริโภคเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ และยำ 

คูน หรือ อ้อดิบ วัตถุดิบอาหารไทยพื้นบ้าน...

“คูน” เป็นชื่อหนึ่งของพืชตระกูลบอน ที่สามารถนำมาทำอาหารไทยได้หลายอย่าง โดยเฉพาะแกง, แกงส้ม, ยำ ฯลฯ โดยคูนนั้นยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อแตกต่างกันไป อย่างชื่อคูนหรืออ้อดิบใช้เรียกในภาคกลางและภาคอีสาน, ตูน (ภาคเหนือ), ออดิบ, โชน (ภาคใต้), บอน (ประจวบคีรีขันธ์), กระดาดขาว (กาญจนบุรี) เป็นต้น

https://www.baanmaha.com/community