มะผู้มะเมีย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


หมากผู้หมากเมีย ชื่อสามัญ Cordyline, Ti plant, Dracaena Palm

หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย LOMANDROIDEAE

สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูหมาก (เชียงใหม่), หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง), ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), เที่ยซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น

หมากผู้หมากเมียมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เนื่องจากมีการผสมพันธุ์จนได้ชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนยากที่จะทรายว่าต้นใดเป็นต้นพ่อต้นแม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสมของ C.terminalis เช่น พันธุ์เพชรชมพู เพชรสายรุ้ง เพชรพนมรุ้ง เพชรประกายรุ้ง เพชรเจ็ดสี เพชรดารา เพชรน้ำหนึ่ง เพรชไพลิน เพชรไพลินกลาย เพชรตาแมว เพชรอินทรา เพชรเขื่อนขันธุ์ เพชรไพฑูรย์ เพียงเพชร พุ่มเพชร เปลวสุริยา รัศมีเพชร รุ้งเพชร ชมพูศรี ชมพูพาน สไบทอง ไก่เยาวลักษณ์ พันธุ์แคระ เป็นต้น

สรรพคุณของหมากผู้หมากเมีย

1.รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด ด้วยการใช้รากสดครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)

2.ใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ (พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ) หรือนำมาต้มหรือแช่น้ำอาบแก้ไข้หัว (ไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น หัด เหือด อีสุกอีใส) (ใบ)

3.ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้กำเดา ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวต่าง ๆ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)

4.ใบสดใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ไอเป็นเลือด หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือดก็ได้ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัม หรือรากสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)

5.ช่วยแก้โลหิตกำเดา ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม ถ้าแห้งใช้ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)

6.ดอกใช้เป็นยาแก้วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 ใบ นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม หรือใช้รากสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)

7.รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก)

8.ใบใช้เป็นยาแก้อาการเจ็บกระเพาะอาหารหรือปวดกระเพาะ แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเบือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ใบ) ส่วนตำรายาแก้บิดถ่ายเป็นมูกอีกตำรับ ระบุให้ใช้ใบสด 30-40 กรัม เปลือกลูกทับทิมแห้ง 10 กรัม ผักเบี้ยใหญ่สด 30 กรัม และดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)

9.ใช้แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)

10.ใช้แก้ประจำเดือนมามากเกินควร ด้วยการใช้ดอกสดครั้งละ 30-60 กรัม ส่วนดอกแห้งใช้เพียงครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)

อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2/


ภาพ/สุพล บ่อคุ้ม