เข็มป่า

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


เข็มป่า

เข็มป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Pavetta indica L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

สมุนไพรเข็มป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เข็มโคก (ภาคอีสาน), ไก่โหล (ลีซอ-แม่ฮ่องสอน), ลำโป๊ะ (ลั้วะ) เป็นต้น[1],[2]

หมายเหตุ : ผู้เขียนเข้าใจว่าเข็มป่าในบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับ ต้นเข็มป่า ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ixora Cibdela Craib. (สามารถอ่านได้ที่บทความ เข็มตาไก่) และ ต้นข้าวสารป่า ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavetta tomentosa Roxb. ex Smith. (ชื่อท้องถิ่น เข็มป่า เข็มแพะ เข็มขาว กระดูกงูเหลือม) ซึ่งทั้ง 3 ชนิดมีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน

สรรพคุณของเข็มป่า

1.ดอกมีรสฝาดเย็น ช่วยแก้ตาแดง ตาแฉะ (ดอก)

2.เปลือกต้นมีรสเมาเบื่อ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหูฆ่าแมงคาเข้าหู (เปลือกต้น)

3.ใบใช้เป็นยารักษาโรคในจมูก (ใบ)

4.ผลมีรสเมาเบื่อ เป็นยาแก้ริดสีดวงงอกในจมูก (ผล)

5.รากมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้เสมหะในทรวงอกและในท้อง (ราก)

6.โคนต้นและรากนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย (โคนต้นและราก)

7.รากนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้บิด (ราก)

8.ใบมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ (ใบ)

9.ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ใบและราก)

10.ใบและรากใช้เป็นยาพอกฝี (ใบและราก)

11.ใบและรากใช้เป็นยารักษาโรคหิด (ใบและราก)

อ้างอิง: https://medthai.com/