ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes nivea Bremek
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
เนียมหอม (Strobilanthes nivea) จัดอยู่ในวง ศ์ Acanthaceae เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ใน เขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เนียมหอมจัดเป็นพืชที่มีใบหอม กลิ่นคล้าย ใบเตยแต่ให้กลิ่นหอมที่เข้มกว่า และให้ความรู้สึกความหอม เย็นปนหวานที่ล้ำลึกและมีกลิ่นหอมติดทนนาน มีความสำคัญ กับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชนทั้งทางด้าน ยารักษาโรค และสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องหอมได้ เนียม หอมเป็นยาพื้นบ้านโดยจะใช้ใบสดต้มน้ำดื่มหรือคั้นน้ำจากใบ สดดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการแก้หวัด แก้ไอ บรรเทาอาการ หอบหืด และขับลมในลำไส้นอกจากนั้นนำใบสดมาผสมกับ ปูนกินหมากจะช่วยเพิ่มกลิ่นที่หอมสดชื่นและทำให้มีรสสัมผัส ที่ดี อาจจะมีการนำใบเนียมหอมนาบกับไฟนำไปเหน็บไว้ใน มวยผม ตามกระเป๋าจะทำให้มีกลิ่นหอม หรือใช้กลิ่นใบเนียม หอมในการนวดแผนโบราณ ใบแห้งนิยมนำมาปรุงเป็นยานัตถุ์ ส่วนรากเนียมหอมชาวจีนนิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรค มาลาเรีย ยาพอกฝีหรือสิว เนียมหอมเมื่อนำมาปรุงในเครื่อง หอมไทยทำให้เครื่องหอมไทยมีความโดดเด่นมาก เช่น นำมา ปรุงเป็นน้ำอบ น้ำปรุง แป้งร่ำ และเครื่องหอมอื่น ๆ ของไทย อีกมากมาย เครื่องหอมที่ถูกปรุงด้วยความหอมจากพืชนานา พรรณ แต่ขาดเนียมหอมจะสามารถทราบได้ทันทีเลยว่า เครื่องหอมนั้นยังไม่สมบูรณ์ การใช้ประโยชน์จากเนียมหอม บางแห่งมีภูมิปัญญาการอบผ้าด้วยเนียมหอม ทำให้ผ้ามีกลิ่น หอมคล้ายใบเตย ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง และสบายใจ
นอกจากนั้นเนียมหอมยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการ นำใบมาปรุงแต่งเครื่องดื่มและยาสูบ โดยคนสมัยก่อนจะ นำเอาใบเนียมหอมมานาบไฟอบยาเส้นใส่กระป๋องหรือ ปูนขาว และใบพลูจะช่วยลดกลิ่นของยาเส้น ปูนขาว และ ใบพลูให้มีรสชาติที่กลมกล่อม เวลาเคี้ยวจะได้กลิ่นที่หอมไป ทั่วปาก และในการดองเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำให้ แอลกอฮอล์มีกลิ่นที่หอมนุ่มละมุนรับประทานง่ายขึ้น ไม่บาด คอ [2] แต่ดีกรีของแอลกอฮอล์ยังคงเดิม จากข้อมูลดังกล่าว ข้างต้นจะเห็นว่าชาวบ้านมีการนำต้นเนียมหอมมาใช้ ประโยชน์มากมาย แต่ยังไม่พบรายงานการศึกษาการใช้ ประโยชน์ที่แน่นอนจากต้นเนียมหอม การศึกษาสารที่เป็น องค์ประกอบของต้นเนียมหอม สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้จึงต้องการศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก สารสกัดใบเนียมหอมร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้าน (ใบเตย ใบ รางจืด ตะไคร้) เพื่อนำใบเนียมหอมร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้าน (ใบเตย ใบรางจืด ตะไคร้) ไปแปรรูปเป็นชาสมุนไพรพร้อมดื่ม และส่งเสริมให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของเนียมหอมและ สมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร พร้อมดื่มชนิดใหม่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อไป
ัตนา เพ็งเพราะ และคณะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562