ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
Turmeric is the dried rhizome of Curcuma longa L. (C. domestica Valeton) (Family Zingiberaceae), Herbarium Specimen Number: DMSC 31, 1410, 1458, Crude Drug Number: DMSc 0012.
Constituents Turmeric contains yellow volatile oil, of which turmerone and zingiberene are its major components, and curcuminoids, of which curcumin, desmethoxycurcumin, and bisdesmethoxycurcumin are its major components.
Description of the plant (Figs. 1a, 1b) Perennial herb with a thick, ellipsoid-ovate rhizome, orange inside, giving rise to short blunt daughter rhizomes called fingers; leafy shoots up to 1 m tall, bearing 6 to 10 leaves. Leaves simple, glabrous, lamina, elliptic, oblong-elliptic or lanceolate, 30 to 45 cm long, 10 to 15 cm wide, apex acuminate, base narrow; petiole as long as lamina (rather abruptly broadened to leaf sheath, forming a pseudostem). Inflorescence scape from the apex of the rhizome; peduncle 15 cm long or more; spike 10 to 15 cm long, 5 to 7 cm in diameter; bract, white or white with green, 5 to 6 cm long, each subtending flowers; bracteole thin, pale green and tinged with pink, elliptic to ovate, up to 3.5 cm long. Flowers as long as the bracts; calyx whitish tubular, unilateral split, unequally toothed; corolla white, tubular at base, upper half cup-shaped with 3 unequal lobes inserted on edge of cup lip; lateral staminode petaloid, oblong, folder under the dorsal petal, staminode and lip creamy-white with yellow median band, filament united to another about the middle of the pollen sac, spurred at base; ovary trilocular. Fruit capsule, globose to ellipsoid. Seed arillate.
Description
Macroscopical (Fig. 1a) Dried rhizome occurs as an ovate, oblong or pear-shaped of round turmeric; cylindrical and often short-branched of long turmeric; the round about half as broad as long, the long 2 to 5 cm long and 1 to 2 cm thick; externally yellowish to yellowish brown, with root scars and annulations, the latter from the scars of leaf bases; fracture horny; internally orange-yellow to orange, waxy, showing a cortex separated from a central cylinder (about twice as broad as cortex) by a distinct endodermis; in both cortex and central cylinder, scattered bundles are seen.
Microscopical (Figs. 2a, 2b) Transverse section of the rhizome shows epidermis consisting of a layer of rectangular cells; covering trichomes, unicellular, up to 280 μm long. Hypodermis composed of 3 to 6 layers in the mature rhizome, but absent in the younger. Cork, 4 to 6 layers of rectangular cells. Cortex composed of thin-walled parenchyma cells containing numerous starch grains, yellowish oil droplets and yellow colouring matter occasionally seen; starch grains, simple, flattened, rounded to oval or irregular in outline, very faint transverses triations could be seen in some granules. Endodermis, a layer ofthin-walled cells. Stele, thin-walled parenchyma cells containing numerous starch grains, yellowish oil droplets and yellow colouring matter. Fibrovascular bundles, non-lignified walled cells, scattered in cortex and stele; vessels, spiral, scalariform and reticulate
Turmeric in powder possesses the diagnostic microscopical characters of the unground drug.
ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric
ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น
ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน
เมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วันแล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน หรือจะนำเหง้าแก่มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หากนำขมิ้นมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ กำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
การหาซื้อขมิ้นมารับประทานเองไม่ว่าจะเป็นแบบผงหรือแบบแคปซูล ควรจะซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดสารเคมี ไม่มีสารสเตียรอยด์ปลอมปน และในกระบวนการผลิตนั้นต้องไม่ผ่านความร้อนเกิน 65 องศา เพื่อคงคุณภาพของขมิ้น ใส่ใจกันสักนิดเพราะบางคนซื้อมารับประทานเองทุกวัน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย
การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง
อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้
การรับประทานอย่างพอประมาณและเหมาะสม รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ งดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือสิ่งที่ถูกต้อง บางสิ่งบางอย่างถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากก็จริง แต่ถ้ามันมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อตัวเราได้ จึงไม่ควรหลงละโมภ และรับประทานทานอย่างไร้สติ
1.สูตรขมิ้นสด (ช่วยให้ผิวเรียบเนียน รักษาสิวอุดตัน สิวอักเสบ)
2.สูตรขมิ้นสด / ดินสอพอง / มะนาว (ช่วยให้ผิวหน้าผ่องใสเนียนเรียบ อ่อนเยาว์ สิวยุบเร็ว)
3.สูตรผงขมิ้น / น้ำมะนาว (ช่วยให้หน้าเนียนใส ช่วยลดอาการบวมแดงจากสิว ช่วยลดสิวและช่วยให้สิวยุบเร็ว)
4.สูตรผงขมิ้น / น้ำนม (บำรุงผิวหน้าให้ผ่องใส อ่อนเยาว์ รักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว)
5.สูตรผงขมิ้น / น้ำผึ้ง (บำรุงผิวหน้าให้ผ่องใส อ่อนเยาว์ รักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว)
6.สูตรผงขมิ้น / ดินสอพอง (ช่วยฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการสิว)
7.สูตรน้ำขมิ้น / นมสด / ดินสอพอง (ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น เปล่งปลั่ง เรียบเนียน ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการผดผื่นคัน)
8.สูตรขมิ้นแห้ง / ว่านนางคำ / ไพล / ดินสอพอง (สูตรบำรุงผิว ลดสิว)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สนุกพีเดีย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์มุสลิมไทยโพสต์
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)