มะเมื่อย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


เมื่อย

เมื่อย หรือ มะเมื่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum montanum Markgr. จัดอยู่ในวงศ์ GNETACEAE


มะเมื่อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะม่วย (เชียงใหม่), ม่วย (เชียงราย, อุบลราชธานี), ม่วยขาว เมื่อยขาว (อุบลราชธานี), แฮนม่วย (เลย), เถาเมื่อย (สุโขทัย), เมื่อย (ตราด), แฮนเครือ, มะเมื่อย, ม่วยเครือ เป็นต้น


ลักษณะของมะเมื่อย

ต้นมะเมื่อย มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักรเนปาล โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ เลื้อยพันไปตามต้นไม้ใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนดำ กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อพองบวม ลักษณะเป็นข้อปล้อง มักพบขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง


สรรพคุณของมะเมื่อย

ตำรายาไทย เถาหรือลำต้นมีรสขื่นเฝื่อน มีสรรพคุณทำให้จิตใจชุ่มชื่น และทำให้แข็งแรง (ลำต้น)

ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ใบเมื่อยขาวนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น (ใบ)

รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)

ยาพื้นบ้านอีสานจะใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยในการอยู่ไฟของสตรี บำรุงร่างกายของสตรีหลังการคลอดบุตร (ลำต้น)

ใบนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง และตุ่ม (ใบ)

น้ำต้มรากใช้กินเป็นยาแก้พิษได้บางชนิด (ราก)

เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บวมพอง (เปลือกต้น)

ตำรายาไทยจะใช้เถาหรือลำต้นเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ส่วนตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้ลำต้นผสมกับลำต้นของเถาเอ็นอ่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย (ลำต้น)

ประโยชน์ของมะเมื่อย

เมล็ดหรือผล นำมาทำให้สุกหรือต้มใช้รับประทานได้

ใบใช้รับประทานเป็นผัก

เมล็ดให้น้ำมัน หรือนำมารับประทาน หรือใช้ทำไวน์ได

เปลือกต้นมีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้[3]

เส้นใยจากเปลือกสามารถนำมาใช้ทำกระสอบหรือแหจับปลาได

ส่วนชาวขมุและชาวเมี่ยนจะใช้เครือนำมาทำสายหน้าไม้ เพราะมีความเหนียวมาก


อ้างอิง https://medthai.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2/