ว่านไก่น้อย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ว่านไก่น้อย Cibotium barometz (L.) J.Sm.

ทอง (ภาคเหนือ), หัสแดง (ภาคใต้), เกาแช กิมซีม้อ กิมม๊อเกาจิก (จีนแต้จิ๋ว), จินเหมาโก่วจี๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านลูกไก่ทอง

ต้นว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

ใบว่านลูกไก่ทอง ก้านใบเป็นสีเทามีความแข็งแรงมาก ส่วนที่โคนจะมีขนสีทองยาวขึ้นปกคลุมอยู่ ลักษณะของตัวใบใหญ่รีแหลมเป็นรูปขนนก 3 ชั้น ยาวได้ถึง 2 เมตร ตัวใบส่วนล่างรีแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ใบส่วนบนค่อย ๆ เล็กลง ปลายสุดเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเทาคล้ายกับมีแป้งเคลือบอยู่ ส่วนอับสปอร์จะเกิดที่ริมใบ มีลักษณะกลมโต แต่ละรอยหยักของตัวใบจะมีอับสปอร์อยู่ประมาณ 2-12 กลุ่ม เยื่อคลุมอับสปอร์เป็นสีน้ำตาล และใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

สรรพคุณของว่านลูกไก่ทอง


ตำรับยาบำรุงกำลังและกระดูก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, โกฐเชียง, รากหง่วงจี้เน็ก และโป่งรากสนเอาเปลือกออก อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ด ใช้กินกับเหล้าครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)

เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาระบายและช่วยย่อย เหมาะสำหรับเป็นยาของผู้สูงอายุ (เหง้า)

เหง้าใช้เป็นยาขับพยาธิ (เหง้า)

ตำรับยาแก้ปัสสาวะมาก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, ลูกบักกวย, เปลือกต้นโต่วต๋ง และเปลือกรากโงวเกียพ้วย อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เหง้า)

แก้ปัสสาวะไม่รู้ตัวหรือช้ำรั่ว ปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นสีเหลือง สำหรับผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้เหง้าแห้ง 15 กรัม, ราพังทึ้งก้วง 15 กรัม, รากเชียวจั้ง 15 กรัม, และใบไต่แม้กวยมึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูกิน (เหง้า)

ส่วนสตรีที่มีอาการตกขาวมากผิดปกติ ให้ใช้เหง้าที่เอาขนออกแล้ว, เต็งย้ง (เขากวางอ่อนนึ่งด้วยน้ำส้ม แล้วเผา), แปะเกี่ยมสด นำมาบดให้เป็นผง ใช้ต้นหนาดใหญ่ต้มกับน้ำส้มสายชูผสมข้าวเหนียว นำไปต้มแล้วบดให้เหนียว ผสมทำเป็นยาเม็ด ใช้กินตอนท้องว่างครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)

ใช้รักษาอาการน้ำกามเคลื่อน (เหง้า)

ช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น (เหง้า)

ใช้เป็นยาบำรุงตับและไต (เหง้า)