อบเชยไทย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่ออื่นๆ:อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง) กระดังงา (กาญจนบุรี) ฝักดาบ (พิษณุโลก) สุรามิด (สุโขทัย) บอกคอก (ลำปาง) พญาปราบ (นครราชสีมา) กระแจะโมง โมงหอม (ชลบุรี) สะวง (ปราจีนบุรี) กระเจียด เจียดกระทังหัน (ยะลา)

ชื่อสามัญ:Cinnamom

ชื่อวิทยาศาสตร์:Cinnamomum bejolghota Sweet

วงศ์:LAURACEAE

ลักษณะทั่วไป:ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีอายุหลายปี สูง 5 - 10 ม.เวลาที่ดอกหอม:หอมตลอดเวลา (เนื้อไม้และใบไม้)การขยายพันธุ์:

เพาะเมล็ด

ข้อดีของพันธุ์ไม้:

เป็นสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคชนิดต่างๆ
เป็นส่วนประกอบของอาหาร เครื่องดื่ม

ข้อมูลอื่นๆ:

อบเชยเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดระนอง
เปลือกต้น มีรสหวานหอม ใช้ปรุงเป็นเครื่องเทศ ยาหอม ยานัตถุ์ ช่วยทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดศีรษะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง น้ำมันที่กลั่นได้จากเปลือกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและกันบูด
รากและใบ ใช้ต้มดื่มแก้ไข้จากการอักเสบหลังคลอด ที่ทันสมัยขึ้นมาหน่อย ก็บอกว่าอบเชยนั้นต้านมะเร็งได้ดี เพราะมีสารกลีเซอรีนเข้มข้น เป็นสารต้านแบคทีเรีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ สามารถช่วยเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายไขมัน นอกจากนี้นักวิจัยญี่ปุ่นยังพบว่าอบเชยสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ วิธีใช้ก็คือ ซื้อผงอบเชยที่มีขายตามซูเปอร์มาเกต หรือจะซื้อที่เป็นแท่งมาบดเองก็ได้ ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร
คนไทยคุ้นเคยกลิ่นอบเชยในน้ำพะโล้อยู่แล้ว หรือจะลองหาผงอบเชยมาเหยาะในอาหารหรือเครื่องดื่มในแต่ละวันดูบ้างก็ได้ อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ หรือแซนด์วิช ก็ไม่เลวนะครับ แล้วแต่จะดัดแปลงสูตรใครสูตรมันครับ
เปลือกไม้ สีน้ำตาลที่เรียกกันว่าอบเชยนี้ไปย่างไฟ ก็จะให้กลิ่นหอม นิยมใส่ในแกงมัสมั่นและอาหารประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่างๆ เพื่อลดคาว
เนื้อไม้ มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร

เอกสารอ้างอิง:

1.ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า
2.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า (1329)
3.http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9470000029143
4.http://www.skn.ac.th/skl/project/spice87/a1.htm
5.Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p.

รวบรวมโดย:นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม