ชิงชี่

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชิงชี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis micracantha DC. จัดอยู่ในวงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)

สมุนไพรชิงชี่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนวดแมวแดง (เชียงใหม่), แส้ม้าทลาย (เชียงราย), ซิซอ (ปราจีนบุรี), คายซู (อุบลราชธานี), น้ำนอง (สุโขทัย), ชายชู้ หมากหมก (ชัยภูมิ), พุงแก (ชัยนาท), ค้อนกลอง (เพชรบูรณ์), ค้อนฆ้อง (สระบุรี), กระดาดป่า กระดาษป่า (ชลบุรี), ราม (สงขลา), พวงมาระดอ เม็งซอ (ปัตตานี), กระดาดขาว กระดาษขาว กระโรกใหญ่ จิงโจ้ พญาจอมปลวก แสมซอ (ภาคกลาง), กิรขี้ กินขี้ ชิงชี ชิงวี่ ชินซี่ ซาสู่ต้น แซ่สู่ต้น แซ่ม้าลาย แส้ม้าทะลาย น้ำนองหวะ ปู่เจ้าสมิงกุย เป็นต้น

สรรพคุณของชิงชี่

1.ทั้งต้นมีรสขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)

2.ใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (คือไข้ที่มีอาการวิงเวียน ตาลาย เลือดกำเดาไหล แน่นหน้าอก เกิดขึ้นร่วมกัน) ไข้พิษฝีกาฬ (ฝีกาฬคือฝีที่เกิดบริเวณนิ้วมือ สีดำ ทำให้มีอาการปวดศีรษะและแสบร้อนมาก อาจทำให้แน่นิ่งไปได้) (ใบ)

3.รากและใบช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว (อาการไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส (ราก, รากและใบ)

4.ช่วยรักษาไข้เพื่อดีและเลือด มักจะใช้ได้ดีในตอนต้นไข้ (ราก)

5.ใบใช้เข้ายาอาบ รักษาโรคประดง (อาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมาก และมักมีไข้ร่วมด้วย) (ใบ ดอก)

6.รากมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ร้อนภายในทุกชนิด แก้ไข้เพื่อดีและโลหิต (ราก) รากและใบใช้เป็นยาระงับความร้อน (รากและใบ)

7.รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้โรคและรักษาดวงตา (ราก)

8.รากและใบใช้เป็นยาแก้หืด (ราก, รากและใบ)

9.เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบและอาการอักเสบที่เยื่อจมูก (เนื้อไม้)

10.ผลใช้รักษาโรคที่เกิดในลำคอ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ (ผล)

อ้างอิง: https://medthai.com/