พระยาท้าวเอว

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


พญาท้าวเอว ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros bispinosus (Griff.) Tirveng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Randia bispinosa (Griff.) Craib) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

สมุนไพรพญาท้าวเอว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขบเขี้ยว สลักเขี้ยว (สุราษฎร์ธานี) ส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้เรียก "พญาท้าวเอว" เป็นต้น

สรรพคุณของพญาท้าวเอว

1.ลำต้นใช้ฝนกับเหล้าทารักษาแผลในปาก (ลำต้น)

2.หากปวดฟันหรือเป็นรำมะนาด ให้ใช้เหล้าเป็นกระสาย นำมาฝนแล้วทาบริเวณที่ปวด อาการก็จะบรรเทาลง (ลำต้น)

3.ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้ลำต้น นำมาฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้อาการท้องเดิน (ลำต้น)

4.ใช้ลำต้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้งูสวัด ไฟลามทุ่ง (ลำต้น)

5.ลำต้นใช้ฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย ขบ โดยใช้น้ำมะนาวหรือน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย แล้วเอาว่านนี้มาฝนเข้าด้วยกันกับน้ำกระสาย แล้วเอาไปปิดที่แผล (ลำต้น)

6.ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นพญาท้าวเอวผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)[1] แต่บางข้อมูลก็ระบุว่าให้นำไม้ท้าวเอวไปแช่ในน้ำให้เปียกชุ่มก่อน จะทำให้ตัวยาของไม้ซึมออกมา จากนั้นจึงนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยไม่นานก็จะหาย

7.นอกจากนี้ว่านพญาท้าวเอวยังมีสรรพคุณอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาอีก (ข้อมูลไม่มีแหล่งอ้างอิง) เช่น แก้เด็กเป็นทราง ฟันเป็นแมง เจ็บคอ ตกเลือด เลือดทำพิษ แก้โรคผิวหนัง เป็นหันฝีหัวพิษ แก้เล็บขบ (ใช้ลำต้นนำมาฝนกับเหล้า) หรือถ้ากินยาเบื่อ ยาพิษ ผิดสำแดง ปวดท้อง ลงท้อง เป็นบิด ให้นำมาฝนกับน้ำซาวข้าว (ลำต้น)

อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A7/