ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stephania venosa (Blume.) Spreng.
วงศ์ MENISPERMACEAE
ภาคเหนือ กลิ้งกลางดง ภาคกลาง กระท่อมเลือด ภาคอีสาน - ภาคใต้ -
กลิ้งกลางดงเป็นไม้เลื้อย มีอายุการเจริญเติบโตฤดูกาลเดียว มีผลพิเศษ (เป็นผลหรือรากสะสมอาหาร) ทรงกลมผิวสีน้ำตาลขรุขระเล็กน้อยเกาะตามซอกใบ ใบเดี่ยว รูปไข่แกมหัวใจ โคนใบมน กว้างเว้าลึกเป็นติ่งหู ปลายใบแหลมมีติ่งหาง ขอบใบและแผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ แยกเพศ กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสด รูปไข่กลับ
สภาพนิเวศ : พบขึ้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
การขยายพันธุ์ : ผลพิเศษและรากสะสมอาหาร
ประเภทพืช พืชดอก
บรรยายลักษณะ
ต้น: ไม้เถา มีลำต้นสะสมอาหาร เถาเกลี้ยง มียางสีแดงบริเวณปลายยอด หรือที่ก้านใบ
ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ขอบใบเว้าเล็กน้อยทำให้เห็นใบค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบกว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 6-11 เซนติเมตร ฐานใบรูปตัดหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบตัดหรือมีติ่งเล็กน้อย ท้องใบ มีขนเล็กน้อย และเป็นมันวาวเล็กน้อย มักเห็นเส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาว 5-15 เซนติเมตร
ดอก: ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้ ช่อแบบซี่รม ช่อยาว 4-16 เซนติเมตร มีช่อย่อยเป็นกระจุก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 6 ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร 3 กลีบด้านนอกรูปใบหอกกลับ 3 กลีบด้านในรูป ไข่กลับ โคนเรียวเล็กลง กลีบดอก 3 สีส้ม รูปไข่กลับหรือรูปสามเหลี่ยมกลับ ยาวประมาณ 1.25 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ติดรวมกันที่ก้านมีลักษณะเป็นวงแหวน ก้านชูเกสร ยาว 1-1.75 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมีย มักจะหนาแน่นกว่า บางช่อค่อนข้างติดกัน ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 1 รูปรี ยาว 0.75 มิลลิเมตร กลีบดอก 2 คล้ายรูปไต ยาว 0.75 มิลลิเมตร รังไข่ ค่อนข้างเป็นรูปรี ยาว 1.5 มิลลิเมตร
ผล: ผลแบบเมล็ดเดียวเปลือกเมล็ดแข็ง รูป ไข่กลับ ยาว 7 มิลลิเมตร
เปลือก:
อื่นๆ:
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์
ป่าเบญจพรรณ และเขาหินปูน จนถึงระดับ 1,500 เมตร จากน้ำทะเล
การใช้ประโยชน์ สมุนไพร,ผลนำไปเผาไฟทั้งลูก ประคบแก้ปวด