ปอขนาย

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ปอกระสา ชื่อสามัญ Paper mulberry

ปอกระสา ชื่อวิทยาศาสตร์ Broussonetia papyrifera (L.) L'Hér. ex Vent. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

สมุนไพรปอกระสา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์), ปอกะสา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หมอมี หมูพี (ภาคกลาง), ปอฝ้าย (ภาคใต้), ส่าแหล่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เซงซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชะดะโค ชะตาโค (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), สายแล (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ป๋อสา (คนเมือง), ไม้ฉายเล (ไทใหญ่), ไม้สา (ไทลื้อ), ลำสา (ลั้วะ), หนั้ง (เมี่ยน), เตาเจ (ม้ง), ตุ๊ดซาแล (ขมุ), ตู๋ซิก จูซิก (จีนแต้จิ๋ว), โกวสู้ ชู่สือ (จีนกลาง), ปอสา เป็นต้น

สรรพคุณของปอกระสา

1.ผลมีสรรพคุณเป็นยาชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือบดเป็นผงผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดรับประทาน (ผล)

2.ผลมีรสหวานชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม และไต มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงสายตา ช่วยทำให้ตาสว่าง (ผล)

3.เปลือกลำต้นนำมาเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดใช้แต้มตา แก้ตาเป็นต้อ หรือจะใช้ผลแห้งประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือบดเป็นผงผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดรับประทานก็ได้เช่นกัน (เปลือก, ผล)

4.ใช้รักษาอาการหูอื้อ ตามัว หรือตาไม่สว่าง ด้วยการนำใบมาบดให้เป็นผงละเอียด แล้วทำเป็นยาเม็ดรับประทาน (ใบ)

5.น้ำคั้นจากเปลือกกิ่งก้านอ่อนใช้รับประทานเป็นยาแก้โรคตาแดง (กิ่งก้านอ่อน)

6.เปลือกกิ่งก้านอ่อน นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำรับประทานแก้ก้างปลาหรือกระดูกติดคอ (กิ่งก้านอ่อน)

7.ใบใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ในกระเพาะ (ใบ)

8.รากและเปลือกมีรสหวานฝาด เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียดหรือทำเป็นยาก้อนเล็ก ๆ หรือใช้ต้มเอาน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไอ หรือจะใช้รากและเปลือกรากแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ก็ได้เช่น (รากและเปลือก)

9.เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียน (เปลือก)

10.ใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกาย (รากและเปลือก)

อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2/