มะยม

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


มะยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

สมุนไพรมะยม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมากยม หมักยม (ภาคอีสาน), ยม (ภาคใต้) เป็นต้น

มะยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เปลือกของลำต้นขรุขระมีสีเทาปนน้ำตาล ใบมะยมเป็นใบประกอบ มีย่อยออกเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ลักษณะของผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว แต่ถ้าแก่แล้วจะเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำมาก ในผลมีเมล็ดกลม ๆ สีน้ำตาล 1 เมล็ด สำหรับรสชาติจะมีรสหวานอมฝาด

มะยมนั้นมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยลักษณะเด่นของต้นตัวผู้จะออกดอกเต็มต้นแต่ไม่ติดลูก ส่วนต้นมะยมตัวเมียนั้นจะมีดอกน้อยกว่า ซึ่งในทางการแพทย์นั้นนิยมใช้มะยมตัวผู้เป็นหลักทั้งใบและราก เพราะมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูงกว่ามะยมตัวเมีย

ข้อควรระวัง : น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมจะมีพิษเล็กน้อย การรับประทานเข้าไปอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงซึมได้ ควรระวังน้ำยางจากเปลือกรากให้ดี

สำหรับความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุไว้ว่าให้ปลูกต้นมะยมในทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้มากล้ำกราย และเชื่อว่ามะยมเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า "นิยม" ซึ่งเชื่อว่าผู้ปลูกจะมีเมตตามหานิยม

ประโยชน์ของมะยม

  1. ผลมะยมมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ผลไม้มะยมช่วยดับร้อนและปรับสมดุลในร่างกาย
  3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  4. มะยมมีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ดอกสดของมะยม นำมาต้มกรองเอาแต่น้ำใช้แก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (เป็นสูตรโบราณ ปัจจุบันไม่ขอแนะนำให้ทำ)
  6. สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกของลำต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ (ราก)
  8. น้ำมะยมช่วยต้านหวัดได้เพราะมีวิตามินซีสูง
  9. ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะ ดับพิษเสมหะ ด้วยการรับประทานผลสุกหรือดิบก็ใช้ได้
  10. ผลใช้เป็นยาระบาย
  1. ใช้แก้น้ำเหลืองเสียให้แห้ง (ราก)
  2. ช่วยรักษาเม็ดผดผื่นคันหรือแก้โรคประดง (โรคผื่นคันตามผิวหนัง) ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กิโลกรัมนำมาต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นแล้วนำมาอาบ และควรทำควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาบริเวณผดผื่นที่เป็นด้วย (ราก)
  3. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ราก)
  4. มะยมมีประโยชน์ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคไขข้ออักเสบ ด้วยการนำผลมาตำรวมกับพริกไทยแล้วพอกบริเวณที่ปวด
  5. นิยมรับประทานเป็นผลไม้สดและมีการนำมาประกอบอาหาร เช่น ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดกินกับน้ำพริก ลาบ ขนมจีน ส้มตำ
  6. มีการนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมดอง มะยมเชื่อม น้ำมะยม มะยมแยม มะยมกวน หรือนำมาใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู

สรรพคุณของมะยม

  1. ใบมะยมแก้เบาหวาน ด้วยการใช้ใบสดและรากใบเตยพอประมาณนำมาใส่หม้อ เติมน้ำแล้วต้มเอาน้ำดื่ม ซึ่งจะช่วยไปกระตุ้นตับอ่อนให้แข็งแรงและสามารถผลิตน้ำตาลในภาวะสมดุลโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลินจากภายนอก
  2. ช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการใช้ใบแก่พร้อมก้านประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อดับรสเฝื่อน ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที แล้วนำมาดื่มจนความดันเป็นปกติแล้วจึงหยุดรับประทาน (สูตรทางเลือก ท่านใดที่รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันอยู่แล้วไม่ควรหยุดยาที่แพทย์ให้รับประทาน)
  3. ใบช่วยบำรุงประสาท
  4. ใบมะยมมีสรรพคุณทางยา ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบมะยมแก่รวมก้าน 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำ ใส่น้ำตาลกรวดพอประมาณไม่ให้หวานมาก นำมาต้มจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น
  5. แก้ไข้เหือด ไข้หัด ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำแล้วนำมาอาบ
  6. ใบช่วยแก้สำแดง
  7. ใบมะยมมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำแล้วนำมาอาบ
  8. ใบนำมาใช้ต้มน้ำอาบแก้พิษคัน
  9. นำมาใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว
  10. ใช้เป็นอาหารได้
  11. ช่วยทำให้ผู้ที่มีอาการติดเหล้า สามารถเลิกเหล้าได้โดยเด็ดขาด ด้วยการใช้รากมะยมตัวผู้ นำมาสับเป็นชิ้นบาง ๆ จำนวน 10 ชิ้น ชิ้นละ 2 ข้อมือแล้วนำไปย่างไฟก่อน แล้วนำมาตากแดด 3 แดด แล้วจึงนำไปดองในเหล้าขาวพอท่วมยาประมาณ 5 วัน แล้วนำมาดื่ม ยิ่งช่วงกำลังเมาจะยิ่งดี เมื่อดื่มไปได้ไม่ถึงครึ่งแก้ว จะคลุ้มคลั่งและอาเจียนออกมา ซึ่งช่วงนี้ให้ระวังไว้ให้มาก เพราะอาจจะดิ้นคลุ้มคลั่งประสาทหลอนกันพักใหญ่ ต้องหาคนมาช่วยกันจับ ถ้าหมดช่วงนี้ไปได้ก็จะเป็นปกติ และไม่อยากดื่มเหล้าอีกเลย (อ้างอิง : คุณจำรัส เซ็นนิล, คุณสมจิต คำน้อย )

https://medthai.com/มะยม