มะกล่ำต้น

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


มะกล่ำต้น ชื่อสามัญ Red sandalwood tree, Sandalwood tree, Bead tree, Coralwood tree

มะกล่ำต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Adenanthera gersenii Scheff., Adenanthera polita Miq., Corallaria parvifolia Rumph.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรมะกล่ำต้น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะแค้ก หมากแค้ก (แม่ฮ่องสอน), มะหล่าม (นครราชสีมา), บนซี (สตูล), ไพ (ปัตตานี), มะแดง มะหัวแดง มะโหกแดง (ภาคเหนือ), มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), หมากแค้ก มะแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแค้กตาหนู (คนเมือง), กัวตีมเบล้ (ม้ง), ซอรี่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กล่องเคร็ด (ขมุ), ลิไพ, ไพเงินก่ำ เป็นต้น

สรรพคุณของมะกล่ำต้น

1.ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)

2.ใบใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)

3.เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อาการปวดศีรษะ หรือจะใช้เนื้อไม้ฝนกับน้ำทาขมับก็แก้ปวดศีรษะได้เช่นกัน (เนื้อ, เมล็ด),

4.รากเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)

5.เนื้อไม้มีรสเฝื่อน ใช้ฝนกับน้ำกินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใช้เนื้อไม้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้อาเจียน (เนื้อไม้)

6.ช่วยแก้อาเจียน (ราก)

7.รากมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ (ราก)

8.ช่วยแก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง และแก้อาการสะอึก (ราก)

9.ช่วยแก้ลมในท้อง (ราก)

10.เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินแก้อาการจุกเสียด (เมล็ด)

อ้างอิง: https://medthai.com/มะกล่ำต้น