ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
ว่านกีบแรด ชื่อสามัญ Giant fern, Mule's-foot fern[8]
ว่านกีบแรด ชื่อวิทยาศาสตร์ Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Polypodium evectum G. Forst.) จัดอยู่ในวงศ์ MARATTIACEAE
สมุนไพรว่านกีบแรด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กีบแรด (แพร่), ปากูปีเละ ปียา (ปัตตานี), กีบม้าลม (ภาคเหนือ), ว่านกีบม้า (ภาคกลาง), ปากูดาฆิง (ภาคใต้), ดูกู (มลายู-ภาคใต้), โด่คเว่โข่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เฟิร์นกีบแรด, กูดกีบม้า, ผักกูดยักษ์ เป็นต้น
สรรพคุณของว่านกีบแรด
1.หัวว่านกีบแรดมีรสจืดเย็นฝาด มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ และบำรุงกำลัง (หัว) คนเมืองจะใช้หัวว่านกีบแรดนำมาสับแล้วตากให้แห้ง นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า ดีปลี และพริกไทย ปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาบำรุงกำลัง (หัว)[4]
2.ตำรับยาบำรุงเลือดและบำรุงกำลัง ระบุให้ใช้หัวว่านกีบแรดหั่นตากดองกับเหล้าหรือต้มกับน้ำกิน (หัว)
3.หมอยาพื้นบ้านในสามจังหวัดภาคใต้จะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยารักษาโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ด้วยการใช้หัวว่านกีบแรดและหัวกระทือหั่นตากแห้ง นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนแบนุ หมอยาปัตตานี ก็ใช้หัวว่านกีบแรดเป็นยารักษาโรคมะเร็งเช่นเดียวกัน โดยจะใช้หัวนำมาต้มกับแก่นขี้เหล็ก แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มกินเป็นประจำ (หัว)
4.หมอยาภาคใต้จะใช้หัวตากแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นประจำจะช่วยควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวาน (หัว)
5.ใช้เป็นยาลดความดัน ด้วยการใช้หัวนำมาหั่นตากแห้ง ต้มกับน้ำกิน (หัว)
6.ตำรับยาแก้อาการนอนไม่หลับ ระบุให้ใช้ว่านกีบแรด รากหญ้าคา รากหญ้านาง และเนระพูสี อย่างละพอสมควร นำมาต้มให้เดือด ใช้ดื่มก่อนนอน 1 แก้ว จะช่วยทำให้หลับสบายดี (หัว)
7.หัวใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ (หัว)
8.หัวใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษตานซางในเด็ก (หัว)
9.หัวใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้กำเดา (หัว)
10.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (หัว)
อ้างอิง: https://medthai.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%94/