รางจืด

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ประเภทพืช พืชดอก

ชื่อสามัญ Laurel clockvine, Blue trumphet vine 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl 

วงศ์ เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) 

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า รางเย็น คาย (ยะลา), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), ย่่าแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์), น้ำนอง (สระบุรี), จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง (ภาคกลาง), ว่านรางจืด เป็นต้น 

ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับต่าลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ

ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ 

ดอกรางจืด ลักษณะของดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง มีกลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน 

สมุนไพรรางจืด "ราชาแห่งการถอนพิษ" เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ ยิ่งเมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การจะน่าส่งแพทย์เพื่อรับการรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่แถวบ้าน เราก็สามารถใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป หรือใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ นไป ในขนาดปริมาณเท่านิ้วชี้ มาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการของพิษเฉพาะหน้าไปก่อน ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด 

ในปัจจุบันผู้คนได้รับสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 45% โดยสารพิษเหล่านี้ ร่างกายต่างก็ไม่ต้องการ เพราะเมื่อเกิดการสะสมเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในอนาคต อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งแน่นอนว่าอัตราการเกิดโรคของคนในยุคปัจจุบันนี้ ก็ได้เพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ซึ่งสมุนไพรรางจืดนี้ อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีส่าหรับคุณในการช่วยขับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ในอนาคต

http://healthydee.moph.go.th/



บรรยายลักษณะ

ต้น: ไม้เถาล้มลุก ลำต้นมีเนื้อไม้

ใบ: ใบรูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก บางครั้งแผ่นใบช่วงล่างหยักเป็นพูตื้นๆ ยาว 4-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือแหลมยาว โคนใบกลมตัด รูปหัวใจหรือคล้ายลูกศร ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง เส้นโคนใบส่วนมากมี 5 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดเจน

ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวได้ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ละกระจุกมีประมาณ 4 ดอกหรือมากกว่า ก้านดอกยาว 1-3 เซนติเมตร ใบประดับย่อยหุ้มกลีบเลี้ยง รูปขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วยขนาดเล็ก ขอบเกือบเรียบ มีต่อมน้ำต้อยตามขอบ ดอกรูปแตรสีม่วงอมน้ำเงินหรือสีขาว ภายในหลอดกลีบมีสีครีมหรือเหลือง หลอดกลีบดอกยาว 3-5 เซนติเมตร บานออกช่วงปลาย กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน กลีบกลมหรือรูปไข่กว้าง เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบ แยกเป็น 2 คู่ ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแผ่ออก คล้ายรูปแตร

ผล: ผลแบบแคปซูล กลมๆ ปลายมีจงอย ยาว 1.5-3 เซนติเมตร แตกอ้าออก มี 2 เมล็ดในแต่ละซีก

เปลือก:

อื่นๆ:

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ออกดอกติดผลเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

การใช้ประโยชน์ สมุนไพร,เป็นสมุนไพรถอนพิษ แก้ผื่นคันจากอาการแพ้ และถอนพิษจากการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องกินยาเป็นประจำ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง