มะคำไก่

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drypetes roxburghii (Wall.) Hurasawa 
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae 
ชื่อสามัญ : - 
ชื่ออื่น : มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น) ,ปะอานก,ยาแก้,โอวนก(เหนือ),ทะขามกาย(ตะวันออก) 
ลักษณะ 
ประคำไก่เป็นไม้ต้น ต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลง 
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ใบหนา สีเขียว เป็นมัน 
ดอก เพศผู้และเมียอยู่ต่างต้นกัน 
ผล รูปทรงกลม สีขาวอมเทา สุกสีดำ 
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด 
สรรพคุณ 
ต้น - เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ 
ใบ ผล และเมล็ด - กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 
ราก - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 หรือมะเร็ง แก้วัณโรค ขับปัสสวะ 
ใบ - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย 
ยาทาพระเส้น ยาตำรับนี้ใช้ทาแก้โรคเส้นพิรุธ แก้ลมอัมพาต ลมปัฏฆาตกร่อน ตะคริว จับโปง เมื่อยขบ สำหรับส่วนผสมในตำรับยาก็คือ 
พริกไทย ข่า กระชาย หอม กระเทียม มหาหิงคุ์ ยาดำ ทั้ง 7 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 1 ส่วน 
ตะไคร้หอม ใบขี้เหล็ก ใบตองแตก ใบมะขาม ใบเลี่ยน ทั้ง 5 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 4 ส่วน 
นอกจากนี้ยังมี ใบมะคำไก่ 16 ส่วน 
นำส่วนผสมเหล่านี้มาตำให้ละเอียด แล้วนำมาห่อด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่มีอาการเส้นตึง เป็นตะคริว หรือเมื่อขบ


http://chaipatpark.com/tips/