กล้วยน้ำว้า

Responsive image
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เสนอแนะ

ระบบจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและข้อมูลเพิ่มเติม เราจะนำข้อมูลของท่านไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


กล้วยน้ำว้า

ชื่อสมุนไพร  กล้วยน้ำว้า

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กล้วยใต้ (ภาคเหนือ) กล้วยตานีอ่อง , กล้วยอ่อง (ภาคอีสาน) กล้วยมะลิอ่อง (ภาคตะวันออก) , ปิซัง (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย) ซาจิง (ฟิลิปปินส์),เง็กเปาตี (พม่า) ซิกนัมวา (กัมพูชา)

ชื่อสามัญ Banana blossom,  Banana, Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa sapientum Linn , [Musa ABB group (triploid) cv. ‘Nam Wa’]

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ M. paradisiaca L.var sapientum (L.) O. Ktzl

วงศ์ Musaceae

ถิ่นกำเนิด กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่  Musa acuminate  Musa balbisaina มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ในอดีตทารกไทยส่วนใหญ่ก็เติบโตมาด้วยกล้วยบด  แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า แถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ และจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยก็ได้ขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย จึงอาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคนปลูกกันมาก และมีการบริโภคกันมากเป็นอันดับหนึ่งของทุกประเทศ

          สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยนั้น จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในจดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง  และกล้วยงาช้าง ซึ่งน่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ในเมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ในปัจจุบันกล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง  พันธุ์กล้วยน้ำว้าที่พบในไทย ได้แก่  กล้วยน้ำว้าแดง  กล้วยน้ำว้าค่อม  กล้วยน้ำว้าเหลือง  กล้วยน้ำว้าขาวกล้วยน้ำว้านวล

ประโยชน์และสรรพคุณกล้วยน้ำว้า

ยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นเริ่มแรก

แก้ท้องเสียหัวปลี

แก้โรคโลหิตจาง

ลดน้ำตาลในเลือด

แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้

ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร

ช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

รักษาอาการท้องเสีย บิดมูกเลือด

รักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ

ลดระดับคอเลสเตอรอล

ช่วยลดน้ำหนัก

                 กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นลำต้น,ใบ,ก้าน,ผล,ดอก(ปลี),ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ผลกล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น หรือนำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน ผลกล้วยน้ำว้าดิบ นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม หรือ นำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน นำมาปรุงอาหาร เช่น หมกหยาวกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น หรือลำมาใช้เลี้ยวสัตว์ เช่น หมู เป็นต้น ปลีกล้วย ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ หรือจะนำมาใช้เป็นเครื่องเคียงก็ได้ ใบกล้วย นำมาห่ออาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ และขนมไทยต่างๆ ใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก ใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง กาบกล้วย กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็ก (เชือกกล้วย) สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ  ก้านกล้วย ใช้ทำเครื่องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย และใช้ปักดอกไม้สำหรับถือไปไหว้พระเป็นต้น

ที่มา  :  https://www.disthai.com/16915273/กล้วยน้ำว้า